ประเด็นคือ – ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเบื้องต้นไม่เกิน 50,000 บาท กรณีบาดเจ็บรุนแรงสามารถเพิ่มค่ารักษาพยาบาลได้ในวงเงินสูงสุดไม่เกิน 2 ล้านบาท
สำนักงานประกันสังคม ปรับปรุงเพิ่มค่ารักษาพยาบาล กำหนดให้ลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น เบื้องต้นไม่เกิน 50,000 บาท ต่อการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย 1 ครั้ง หากมีการบาดเจ็บรุนแรงหรือเรื้อรังตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงกำหนดอัตรา ค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย ให้จ่ายเพิ่มได้อีก 100,000 บาท รวมแล้วไม่เกิน 300,000 บาท หรือหากไม่เพียงพอ สามารถจ่ายเพิ่มขึ้นได้อีก รวมแล้วไม่เกิน 500,000 บาท

นายสุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
นายสุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ตามความเห็นของคณะกรรมการการแพทย์ และหากไม่เพียงพอสามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น แต่รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 1,000,000 บาท โดยตามความเห็นของคณะกรรมการการแพทย์พิจารณา คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ให้ความเห็นชอบ เว้นแต่ ลูกจ้างเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของรัฐตั้งแต่เริ่มแรกจนสิ้นสุดการรักษาหรือ มีเหตุสมควรที่ไม่สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาล ในสถานพยาบาลของรัฐตั้งแต่เริ่มแรก แต่ภายหลังได้เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐสามารถเบิกเพิ่มได้ในวงเงินสูงสุดไม่เกิน 2,000,000 บาท
ทั้งนี้ ในกรณีลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน นายจ้างต้องแจ้งการประสบอันตรายตามแบบแจ้งการประสบอันตราย (กท.16) พร้อมสำเนาหนังสือส่งตัวลูกจ้างเข้ารักษาพยาบาล (กท.44) ให้แก่ สำนักงานประกันสังคมที่สถานประกอบการของท่านที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ซึ่งการแจ้ง การประสบอันตราย นายจ้างและลูกจ้างต้องแสดงเอกสารใบเสร็จรับเงิน ประวัติการรักษาพยาบาล และหลักฐานการปฏิบัติงานประกอบการพิจารณา เช่น หลักฐานการลงเวลาทำงาน รวมทั้งให้ข้อเท็จจริง โดยจะทำให้เจ้าหน้าที่วินิจฉัยได้รวดเร็วอีกด้วย