กำลังอ่าน :
TaxBugnoms เผย “บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์” รับบริจาคช่วยน้ำท่วมไม่ใช่รายได้ เก็บภาษีไม่ได้
เขียนโดย : Workpoint News
ในประเทศ

TaxBugnoms เผย “บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์” รับบริจาคช่วยน้ำท่วมไม่ใช่รายได้ เก็บภาษีไม่ได้

View 6 นาที 17 กันยายน 2019
เขียนโดย
Workpoint News
Advertisement
SHARE
COMMENT

TaxBugnoms ไขข้อข้องใจการรับเงินบริจาคแบบ “บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์” จะถูกส่งข้อมูลไปให้กรมสรรพากร หากเข้าเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนด แต่มองว่าไม่สามารถเก็บภาษีได้ เพราะไม่ใช่รายได้ เป็นเพียงทางผ่านไปช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม แต่การให้เงินทั้งหมดขึ้นอยู่กับกรมสรรพากรตีความ

วันนี้ (17 ก.ย.2562) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อว่า TaxBugnoms ได้โพสต์ข้อความว่า “การรับเงินบริจาคแบบพี่บิณฑ์แบบนี้ จะโดนส่งข้อมูลให้พี่สรรพากรไหมครับ?” โดยระบุว่า มีหลายคนถามปัญหานี้เข้ามา ขออนุญาตตอบเป็นความเห็นโดยอ้างอิงตามหลักการกฎหมายดังนี้

  1. ถ้าถามว่า จะโดนส่งข้อมูลไหม คำตอบ คือถ้าเข้าเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ นั่นคือ ตั้งแต่ 3,000 ครั้ง/ปี ขึ้นไป หรือ 400 ครั้ง/ปี และมียอดเงินตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป ย่อมจะถูกส่งข้อมูลอยู่แล้ว ดังนั้น ถ้าถามว่ากรณีพี่บิณฑ์ถูกธนาคารส่งข้อมูลให้สรรพากร คำตอบ คือต้องถูกส่ง และถูกส่งภายในวันที่ 31 มีนาคม 2563 ตามเงื่อนไขของกฎหมาย

 

  1. แต่ประเด็นต่อคือ จะถูกประเมินภาษีไหม? คำตอบตรงนี้ต้องแยกก่อนว่า กรณีที่ธนาคารส่งข้อมูลให้กับสรรพากรนั้น ทางสรรพากรเองไม่สามารถประเมินภาษีได้ทันที หรือถ้าจะประเมินจากกรณีนี้ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ถูกต้องสักเท่าไร เพราะตัวพี่บิณฑ์เองน่าจะมีหลักฐานการบริจาคที่ชัดเจนให้เห็นอยู่แล้วว่า เงินที่เข้าบัญชีหมด ได้ถูกส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือเรื่องน้ำท่วมต่อไป

 

ถ้ามองในแง่ของการทำงาน และหลักฐาน โดยส่วนตัวคิดว่าไม่น่าจะมีการประเมินภาษีจากกฎหมายในส่วนนี้ได้ เพราะว่าเงินที่ได้มานั้นมันมีหลักฐานการเข้าออกบัญชีที่พิสูจน์ได้ว่า ไม่ใช่รายได้ของพี่บิณฑ์ แต่เป็นเพียงทางผ่านของเงินไปเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ประสบปัญหา ดังนั้น กฎหมายฉบับนี้ไม่สามารถเก็บภาษีได้ครับ จากหลักฐานที่ว่ามา และเป็นเครื่องยืนยันอย่างนึงให้เราเข้าใจว่า ถ้าหากเรามีหลักฐานการใช้จ่ายเงิน หรือรับเงินที่พิสูจน์ได้ ต่อให้ถูกส่งข้อมูลให้สรรพากรไปจริงๆ ก็ไม่สามารถประเมินภาษีได้

 

  1. ถ้าหากจะมองในแง่ของปัญหาด้านภาษีจริงๆ อาจจะไปดูที่เรื่องของ #ภาษีการรับให้ น่าจะเป็นไปได้มากกว่า เพราะว่ากรณีนี้มีการได้รับเงินมากกว่า 10 ล้านบาทแน่ๆ และถ้ามองในแง่ของกฎหมาย การให้เงินทั้งหมดนี้ จะถูกตีความว่าเป็นการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา ให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีจากบุคคลอื่นหรือเปล่า อันนี้ขึ้นอยู่กับว่าทางสรรพากรเองมองไปในทางไหน

 

ถ้าให้มองจริงๆ เงินก้อนนี้ควรได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาที่ผู้ให้แสดงเจตนาใช้เพื่อกิจการสาธารณประโยชน์มากกว่า อย่างไรก็ดี คิดว่าเรื่องใหญ่ที่คนในชาติกำลังช่วยเหลือกันแบบนี้ คงไม่มีใครจะมาคิดจัดเก็บภาษีจากเงินก้อนนี้ เพราะเราก็รู้กันดีว่าเงินก้อนนี้ถูกใช้เพื่อช่วยเหลือคนอื่นต่อ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของตัวเอง จริงไหมครับ?

โพสนี้ถือว่าแลกเปลี่ยนเป็นความรู้และมุมมองการวิเคราะห์เรื่องภาษีดีกว่าครับ และเป็นการย้ำเตือนว่า บัญชีรายรับรายจ่าย หรือรายการต่างๆ ในบัญชี เป็นเรื่องที่เราทุกคนควรให้ความสำคัญกับมันครับ

 

ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้

  •  พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48)
  •  พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 40)
  •  มาตรา 42 (29)

Brought to you by
เขียนโดย Workpoint News
บทความที่เกี่ยวข้อง
สงกรานต์ผ้าขาวม้า สยามฯ วันที่ 2 สุดคึกคัก คนแน่นมาก !
14 เมษายน 2018
ออนเซนแบบล้านนา เสน่ห์น้ำพุร้อน ไม่ต้องไปไกลถึงญี่ปุ่น
23 กันยายน 2017
เตือน! มิจฉาชีพแชตลวงอ้างเป็น ม.ร.ว. และลูกสาว ผบ.ทบ.หลอกโอนเงินล้าน
30 กรกฎาคม 2019
หนุ่มอดีตนักธุรกิจร้อง ! ธนาคารเข้าข้างโจร ถูกปลอมลายเซ็นโกงเบิกเงิน 8 ล้าน
21 มกราคม 2019
ทูลกระหม่อมทรงโพสต์ "ถึงวันทูลลา น้อมกายกราบส่งเสด็จพ่อสู่สวรรคาลัย"
27 ตุลาคม 2017
ดูทั้งหมด
LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...
  • สุขภาพกายใจ
  • การศึกษา
  • สิ่งแวดล้อม
  • ธุรกิจ
  • Tech
  • Beauty See First
  • Infographic
  • สรุป
  • การเมือง
  • เศรษฐกิจ
  • ต่างประเทศ
  • ในประเทศ
  • อาชญากรรม
  • บันเทิง
  • กีฬา
  • บทสัมภาษณ์
  • บทความ
Designed by Cleverse
Privacy Policy
© 2017 Workpoint News
Designed by Cleverse
ติดต่อโฆษณา
02-833-2469

Privacy Policy