จับตาพายุโซนร้อน 'ซูลิก' ทำฝนตกหนัก 76 จังหวัด

จับตาพายุโซนร้อน 'ซูลิก' ทำฝนตกหนัก 76 จังหวัด

17819 ก.ย. 67 16:30   |     AdminNews

กรมอุตุฯ ตั้งศูนย์ติดตามพายุโซนร้อน 'ซูลิก' เตือนประชาชน 19-23 ก.ย. นี้ ต้องติดตามและเฝ้าระวังเป็นพิเศษ

กรมอุตุนิยมวิทยาจัดตั้งศูนย์อำนวยการติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์พายุโซนร้อนซูลิก บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลางในช่วงวันที่ 19-20 ก.ย. 67 หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันและเคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณภาคอีสานตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางตอนบนตามลำดับ ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมาก

ภาคอีสานตอนบนและตอนกลาง (หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร มุกดาหาร เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด) ในวันนี้ถึงพรุ่งนี้ (19-20 ก.ย.67) 

ภาคเหนือด้านตะวันออกและภาคกลางตอนล่าง (แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร สุโขทัย ตาก) ในวันถัดไป (20-21 ก.ย.67) 

ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (ลมฝน) มีกำลังแรงพัดเข้าหาพายุดีเปรสชันและหย่อมความกดอากาศต่ำ ทำให้ภาคกลางตอนล่าง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก (นครนายก ระยอง ชลบุรี จันทบุรี ตราด ) และภาคใต้ โดยเฉพาะฝั่งอันดามัน (ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล) มีฝนตกหนักมากบางแห่ง คลื่นลมมีกำลังแรง ในช่วงวันที่ 20-23 ก.ย. 67 ยังต้องติดตามและเฝ้าระวังเป็นพิเศษ

19 กันยายน 2567 เวลา 10.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการพยากรณ์อากาศ ชั้น 11 อาคาร 50 ปี อุตุนิยมวิทยา นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานเปิดศูนย์อำนวยการติดตามสถานการณ์พายุโซนร้อนซูลิก โดยมี นางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาว่าที่ร้อยตรี ธนะสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ฝ่ายบริหาร นาวาตรี สมนึก สุขวณิช รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาฝ่ายปฏิบัติการ ร่วมกับศูนย์อุตุนิยมวิทยาภูมิภาค ทั้ง 5 ศูนย์ ประกอบด้วย 

ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จังหวัดขอนแก่น ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จังหวัดอุบลราชธานี ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก จังหวัดสงขลา และศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันตก จังหวัดภูเก็ต เพื่อรายงานสภาพอากาศในพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบและเตรียมพร้อมรายงานข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้อย่างทันท่วงที 

โดยนายประเสริฐ กล่าวว่า การทำงานของศูนย์อำนวยการฯ จะมีการ Conference กับสถานีอุตุนิยมวิทยาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ ร่วมกันประเมินสถานการณ์ของพายุ เพื่อจะได้ข้อมูลช่วยในการประเมินสถานการณ์ให้มีความแม่นยำมากขึ้น 


รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวกับผู้สื่อข่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อวันที่ 16 กันยายนที่ผ่านมา น.ส. แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 312/2567 แต่งตั้งคณะกรรมคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยเฉพาะอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในประเทศไทยชุดแรก เป็นคณะกรรมการอำนวยการและบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (คอส.) พร้อมทั้งจัดตั้ง ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เพื่อรับมือกับภัยพิบัติที่กำลังเกิดขึ้นในหลายจังหวัดทั่วประเทศ ทำหน้าที่เป็นหน่วยบัญชาการหลักในการประสานงานระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ


กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเตือนว่า ระหว่างวันที่ 19 – 23 ก.ย. จะมีพื้นที่เสี่ยงฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ใน 76 จังหวัดดังนี้

วันที่ 19 กันยายน 2567

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่ จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคตะวันออกได้แก่ จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

วันที่ 20 กันยายน 2567

ภาคเหนือได้แก่ จังหวัดลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์ ภาคเหนือได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ตาก กำแพงเพชร

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่ จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลางได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออกได้แก่ จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี และตราด

ภาคใต้ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

วันที่ 21 กันยายน 2567

ภาคเหนือได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัยกำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่ จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม และนครราชสีมา

ภาคกลางได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออกได้แก่ จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่

ช่วงวันที่ 22-23 กันยายน 2567

ภาคเหนือได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัยกำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่ จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลางได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม

รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออกได้แก่ จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้ได้แก่ จังหวัดระนองและพังงา


สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย

ด้านนางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยว่า กรมอุตุนิยมวิทยาได้จับตาพายุลูกนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567 ได้ออกประกาศฉบับแรกแจ้งให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและเฝ้าระวัง เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง พื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่ม ทั้งนี้ การเคลื่อนที่ของพายุดีเปรสชัน เมื่อเวลา 04.00 น. วันนี้ พายุกำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนในวันนี้ (19 ก.ย. 67) และคาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลางในช่วงวันที่ 19-20 ก.ย. 67 หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ ประกอบกับร่องมรสุมกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นในช่วงวันที่ 19-23 ก.ย. 67 และมีฝนตกหนักถึงหนักมาก กับมีลมแรงในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 



TAGS:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง