เหล้าเถื่อนอันตราย ดื่มแล้วไม่ตายก็พิการ!

เหล้าเถื่อนอันตราย ดื่มแล้วไม่ตายก็พิการ!

67626 ส.ค. 67 19:04   |     ข่าวเวิร์คพอยท์

รู้จักเหล้าเถื่อนให้มากขึ้น พร้อมวิธีป้องกัน จากกรณีพบผู้ป่วยดื่อเหล้าเถื่อนถูกหามส่งโรงพยาบาลทั้งหมด 21 ราย เสียชีวิต 2 ราย และโคม่าอีกหลายราย!

(เรียบเรียงโดย ปิยะธิดา ผ่านจังหาร)

จากเหตุพบป่วยจากการดื่มเหล้าเถื่อน ถูกหามส่งโรงพยาบาลทั้งหมด 21 ราย เสียชีวิต 2 ราย และผู้ป่วยที่เหลือมีอาการโคม่า ซึ่งส่วนมากจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน มึนงง หัวใจเต้นช้า สาเหตุเกิดจากร่างกายได้รับเมทานอลหรือเมทิลแอลกอฮอล์มากเกินไป วันนี้เราเลยอยากพาทุกคนมารู้จักเหล้าเถื่อนกันว่าคืออะไร มีวิธีป้องกันยังไงบ้าง พร้อมทั้งไขข้อสงสัยระหว่าง เมทานอล และเอทานอล แตกต่างกันอย่างไร?

 

เหล้าเถื่อน

ส่วนใหญ่เกิดจากการที่ผู้ผลิตต้มและกลั่นเอง โดยไม่มีมาตรฐาน พบบ่อยในยาดองเหล้า ซึ่งชาวบ้านคนทำ อาจนำสารแปลกปลอมมาผสมเพื่ออ้างสรรพคุณด้านชูกำลังหรือเสริมสมรรถนะทางเพศ อาทิ พิษจากสัตว์มีพิษ เช่น แมงป่อง สารเคมีกำจัดวัชพืช สารเคมีกำจัดแมลง ผงซักฟอก เป็นต้น หากมีการผสมแอลกอฮอล์ชนิดที่เป็นพิษ ราคาต้นทุนต่ำ จะเรียกว่า “เมทิลแอลกอฮอล์” หรือ “เมทานอล”

 

เมทานอล

เป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง ไม่มีสี นำมาใช้เป็น ตัวทำละลายอินทรีย์เป็นเชื้อเพลิง หรือเป็นสารตั้งต้น ในการผลิตพลาสติก ยา และสารประกอบอินทรีย์อื่น ๆ และด้วยชื่อที่มีความคล้ายกันของเมทานอล และเอทานอล จึงอาจจะมีคนสงสัยว่าทั้งสองอย่างนี้มีความต่างกันยังไง งั้นเรามาไขข้อสงสัยนี้กัน!

 

เมทานอล และเอทานอล แตกต่างกันอย่างไร?

เอทานอล และเมทานอล เป็นสารละลาย ของเหลวใส ไม่มีสี ระเหยได้ มีคุณสมบัติที่ไวไฟสูงทั้งคู่ แต่ข้อแตกต่างมีดังนี้

 

เมทานอล : ไม่สามารถกินและใช้กับคนได้ มีพิษมาก นิยมใช้ในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เช่น สีทาไม้ ยาลอกสี น้ำมันเคลือบเงา เป็นต้น

 

ความเป็นพิษต่อร่างกาย

สามารถดูดซึมเข้าทางผิวหนังและลมหายใจ ผู้ที่สูดดมเข้าไปจะเกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้หลอดลมอักเสบ ซึ่งอาจส่งผลให้เป็นพิษเฉียบพลันได้

 

อาการ

ในกรณีที่ดื่มเมทานอลเข้าไป ทางเดินอาหารจะดูดซึมและกระจายพิษเข้าสูกระแสเลือดทันที ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน มีผลต่อประสาทตา และอาจทำให้ตาบอดได้ ในกรณีหนักกว่านั้นอาจส่งผลอันตรายให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้จากอาการไตอักเสบและกล้ามเนื้อตาย

 

เอทานอล : สามารถกินและใช้กับคนได้ มีพิษน้อย นิยมใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ ยาทำความสะอาดแผล เครื่องสำอาง น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น

 

ความเป็นพิษต่อร่างกาย

ก่อให้เกิดโรคพิษสุราเรื้อรังและตับอักเสบ ซึ่งเป็นอาการจากผู้เสพสุราเป็นระยะเวลานาน

 

วิธีป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงการบริโภคเหล้ายาดองที่จําหน่ายตามซุ้มยาดองหรือแหล่งอื่น ๆ รวมทั้งสุราที่ไม่ได้รับอนุญาต จากกรมสรรพสามิต โดยสังเกตได้จากแสตมป์สรรพสามิตที่ขวด (สังเกตลักษณะขวด ต้องไม่มีการแยกบรรจุใหม่ ไม่มีการใช้ขวดเครื่องดื่มอื่น ๆ มาบรรจุแทน และฉลากต้องชัดเจน)
  • ควรพยายามลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง หาแรงจูงใจเลิกดื่ม
  • ควรสังเกตสุรา หากพบว่า มีสี กลิ่น รสเปลี่ยนไปจากเดิม ขุ่นหรือมีตะกอน ไม่ควรดื่ม และแจ้งต่อร้านค้าผู้จัดจําหน่ายหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ตรวจสอบต่อไป


ติดต่อขอรับคําปรึกษา คําแนะนํา และเทคนิคการเลิกดื่มสุราอย่างปลอดภัยจากศูนย์ปรึกษาปัญหาสุรา 1413

 

อ้างอิง :

https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1036720200813024432.pdf

https://www.apexchemicals.co.th/blogDetails.php?id=502

TAGS:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง