ป.ป.ช.ตรวจโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ งบ 20 ล้าน สร้างมากว่า 10 ปีไม่เคยใช้
ป.ป.ช.ตรวจโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ งบ 20 ล้าน สร้างมากว่า 10 ปีไม่เคยใช้

ป.ป.ช.ตรวจสอบโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำคลองลำขนุน จ.ตรัง พบใช้งบประมาณ 20 ล้านบาท แต่สร้างมากว่า 10 ปีแล้ว ยังไม่เคยเปิดใช้
(23 เม.ย. 68) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุม อบต.นาชุมเห็ด อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง นายยุทธนา วิมลเมือง หัวหน้าป้องกันการทุจริต ปปช.ตรัง พร้อมด้วย ชมรมตรังต้านโกง ลงพื้นที่หลังจากที่มีชาวบ้านร้องเรียนว่าโรงไฟฟ้าพลังน้ำชุมชนลำขนุน ต.นาชุมเห็ด ปล่อยทิ้งเอาไว้เฉย ๆ ทำไม่มีการดำเนินงานแต่อย่างใด ทำให้ประชาชนไม่ได้รับผลประโยชน์ ไม่คุ้มค่างบประมาณในการดำเนินการก่อสร้างกว่า 20 ล้านบาท
โดยมี นายอนุ ชูเนตร นายก อบต.นาชุมเห็ด และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าปรึกษาหารือ ซึ่งนายอนุ นายก อบต. นาชุมเห็ต แจ้งว่า โครงการดังกล่าวมีมาก่อนที่ตนจะเข้ามาดำรงตำแหน่ง ตนเองเข้ามารับตำแหน่งปี 64 มีการก่อสร้างปี 57 สร้างเสร็จและมีการส่งมอบกับทาง อบต. แต่ทาง อบต.ไม่สามารถดำเนินการอะไรได้เลย เนื่องจากติดระเบียบกฤษฎีกาเชิงพานิชไม่สามารถทำได้ และทาง อบต.ได้ส่งคืนให้กับ พพ. เมื่อปี 63 ได้รับมอบไปดูแล ซึ่งทรัพสินส่วนนี้ไม่ได้เป็นของ อบต.แล้ว เพียงแต่ทรัพสินอยู่ในพื้นที่ของ อบต. ซึ่งจากการสังเกตมีเจ้าหน้าที่เข้ามาดูปั่นไฟในส่วนนั้น
โดยทาง อบต.เองได้มีการประชาสัมพันธ์ มีการสื่อสารหลายช่องทางเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบไปแล้ว แต่ในส่วนความเข้าใจของประชาชน อาจจะมองว่า เมื่อโครงการดังกล่าวสร้างขึ้น ประชาชนต้องได้ใช้ประโยชน์ ทาง พพ.เองต้องชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนไม่ให้เกิดข้อกังขา และมองว่า การทำโครงการการใช้งบประมาณต่าง ๆ ที่ทำในท้องถิ่นต้องถามท้องถิ่นก่อน ไม่ใช่ทำแล้วส่งมอบไม่ถามท้องถิ่นว่าสามารถแบกรับได้หรือไม่ หรือประชาชนมัความต้องการหรือไม่ ทำให้เกิดปัญหาตามมาแล้วโยนปัญหาให้ท้องถิ่นเป็นคนรับผิดชอบ และโครงการดังกล่าวเป็นทรัพสินของหน่วยงานนั้นๆ ทำให้สูญเสียงบประมาณโดยใช่เหตุ ซึ่งพบว่าหลายโครงการเป็นแบบนี้ และเกิดความล้มเหลวใช้งานไม่ได้ความวัตถุประสงค์และเกิดการทิ้งร้างตามมา
โรงไฟฟ้าพลังน้ำชุมชน โครงการคลองลำขนุน ต.นาชุมเห็ด อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง เป็นการก่อสร้างฝายชะลอน้ำคอนกรีตพร้อมประตูรับน้ำและประตูระบายตะกอน ผันน้ำบางส่วน ผ่านท่อส่งน้ำไปยังอาคารโรงไฟฟ้าเพื่อผลักเครื่องกังหันน้ำและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพร้อมอุปกรณ์ ผลิตพลังงานไฟฟ้าจ่ายเข้าสู่ระบบสายส่งของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) ด้วยงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานปี 2524 วงเงิน 20,814,826.38 บาท ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 308,000 หน่วย คิดเป็นเงินปีละ 770,000 บาท(หน่วยละ 2.50 บาท)ทดแทนน้ำมันดิบ 0.068 ktoe. ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 166.43 tCo2 ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี (พ.ศ.2551-2565)ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายให้มีการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนของประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.3 ในปี พ.ศ.2565 เนื่องจากปัญหาสภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนของประเทศ โดยให้ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.)ดำเนินการจัดหาและพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทน โดยพลังงานน้ำเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดใช้แล้วสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก ซึ่งจากการลงพื้นที่ตรวจสอบโรงผลิตไฟฟ้า พบว่าไม่ได้ทิ้งร้าง โดยมีการจ้างชาวบ้านในพื้นที่เข้ามาดูแลเป็นอย่างดี แต่จะมีการปั่นไฟวอร์มเครื่องเป็นครั้งคราว เพื่อดูแลรักษาระบบเครื่องปั่นไฟฟ้า
นายทนงศักดิ์ ชูแก้ว หัวหน้าโครงการไฟฟ้าพลังน้ำคลองลำปลอก กล่าวว่า โรงไฟฟ้าพลังน้ำ กำลังไฟฟ้า 88 กิโลวัติ เครื่องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ 100% เดินเครื่องส่งจ้ายเข้าสู่ระบบไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คอนนี้อยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบอุปกรณ์กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และทำการเฟิสซิ้งค์กัน จดหน่วยร่วมกัน น่าจะไม่เกิน เดือน 2 เดือนนี้ น่าจะขายไฟเข้าสู่ระยบไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ ซึ่งพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ปลายสายสามารถยกระดับไฟฟ้าที่ว่าไฟตกสามารถอัพเป็นไฟคงที่เต็มระบบได้ และยังเป็นศูนย์การเรียนรู้พลังงานทดแทนชุมชน ส่วนปัญหาที่เปิดใช้งานไม่ได้ เนื่องจากติดระเบียบการซื้อขายไฟฟ้า ระเบียบการบริหารจัดการ ซึ่งเมื่อก่อนโอนให้ท้องถิ่น แต่ผิดระเบียบของท้องถิ่น เลยโอนกลับมาให้กรมฯ ดูแล แต่ก็จ้างคนในท้องถิ่นช่วยดูแลรักษา ซึ่งเมื่อเปิดทำการแล้ว ทาง พพ. เป็นคนดูแลรักษา
ขณะที่นายยุทธนา วิมลเมือง หัวหน้าป้องกันการทุจริต ปปช.ตรัง กล่าวว่า จากการลงตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นได้ทราบข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ส่าโครงการดังกล่าวใช้งบประมาณกว่า 20 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 56 ต่อมา พพ.ส่งมอบโครงการดังกล่าวให้กับ อบต. แต่ปรากฏว่า อบต.ไม่สามารถประกอบกิจการ ดำเนินการไฟฟ้าได้ ทำให้โรงไฟฟ้าไม่ได้ใช้งาน หลังจากนั้น อบต.ได้ทำ MOU ส่งคืนโรงไฟฟ้าให้กับ พพ. ซึ่งผ่านมาก็ว่า 10 ปี ประชาชนในพื้นที่ยังไม่ได้ใช้ไฟฟ้าดังกล่าว เป็นการสูญเสียโอกาสในการที่จะใช้พลังงานทดแทนในราคาที่ถูก แต่ทาง ปปช.ยังจะตรวจสอบต่อไปว่าโครงการดังกล่าว ทาง พพ.ได้มีการดูแลต่อไปอย่างไรบ้าง ซึ่งทาง ป.ป.ช.เองได้แนะนำให้ไปดำเนินการโดย พพ.เองอ้างว่ามีปัญหาเรื่องของระเบียบ เรื่องของกฏหมายที่ท้องถิ่นไม่สามารถที่จะจำหน่ายไฟฟ้าได้ เพราะฉะนั้นต้องไปศึกษากฎหมาย หารือขึ้นมา หากไปทำเองก็ต้องดูว่าประชาชนในพื้นที่จะได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง กับการลงทุน 20 กว่าล้าน 10 ปี ที่สูญเสียโอกาสไป จะได้ให้ประชาชนในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์พลังงานทดแทนในราคาที่ถูกกว่าไฟฟ้าราคาปกติ ส่วนข้อที่อ้างว่าการที่จะให้พลังงานเพิ่มเติมกับประชาชนในพื้นที่นั้น ชาวบ้านยืนยันว่าไฟฟ้าที่ใช้อยู่ในขณะนี้ก็ไม่ได้มีกระแสไฟฟ้าตกแต่อย่างใด
TAGS:
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
