พปชร.ซัด “แพทองธาร” แก้วิกฤตกำแพงภาษีสหรัฐฯ “ล่าช้า” สะท้อนไร้ภาวะผู้นำ

พปชร.ซัด “แพทองธาร” แก้วิกฤตกำแพงภาษีสหรัฐฯ “ล่าช้า” สะท้อนไร้ภาวะผู้นำ

86106 เม.ย. 68 17:11   |     Tum1

'พล.ต.ท.ปิยะ' ซัด “แพทองธาร” ไร้ภาวะผู้นำ แก้วิกฤตกำแพงภาษีสหรัฐฯล่าช้า! ซ้ำทีมเจรจาไทยยัง “อ่อน” เกินไป

(6 เม.ย.68) พล.ต.ท.ปิยะ ต๊ะวิชัย โฆษกพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวถึงกรณีที่ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีการเร่งตั้งคณะทำงานพิเศษ (Special Task Force) เพื่อรับมือภายหลังประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ประกาศขึ้นกำแพงภาษีว่า อันดับแรก การเตรียมตัวเพื่อรับมือในการแก้ปัญหาดังกล่าวรัฐบาลเคลื่อนตัวช้ามาก ทางสหรัฐฯ มีท่าทีและนโยบายในการปรับมาตรการทางด้านภาษี และการค้ากับคู่ค้าต่างๆ ตั้งแต่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้ง และรับตำแหน่ง เมื่อวันที่ 20 ม.ค.68 แต่รัฐบาลไทย เพิ่งตั้งกูรูมาแก้ปัญหาหรือประสานงาน หลังจากสหรัฐฯ ประกาศนโยบายจะขึ้นภาษีไปเรียบร้อยแล้ว จนฝ่ายค้านต้องเรียกร้องให้รัฐบาลตั้งทีมงานแก้ไขปัญหาดังกล่าว


“การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ผมมองว่า ล่าช้าอย่างมาก สหรัฐอเมริกา ประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2568 แต่รัฐบาลเพิ่งตั้งคณะกรรมการพิเศษเพื่อแก้ไขปัญหานี้ หลังจากที่ฝ่ายค้านกดดัน เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นประเทศ จีน เกาหลีใต้และญี่ปุ่น ได้มีการเตรียมการและเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2568 รัฐมนตรีการค้าและอุตสาหกรรมของ 3 ประเทศดังกล่าว ได้ประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดท่าทีรับมือกรณีนโยบายภาษีของสหรัฐอเมริกา"  



ขณะเดียวกัน ประเทศเพื่อนบ้านของไทย เช่น ประเทศเวียดนามได้แต่งตั้ง นายโฮ ดุค ฟ็อก รองนายกรัฐมนตรี และนายเหวียน ฮอง เตี่ยน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ดูแลเรื่องนี้ และทราบว่าได้หารือกับนายเจมิสัน กรีเออร์ ผู้แทนการค้าสหรัฐ (ยูเอสทีอาร์) มีแนวโน้มจะเลื่อนการใช้ อัตราภาษีอากรใหม่ไปอีก 3 เดือน ส่วนประเทศสิงคโปร์ นายกรัฐมนตรีออกโรงเป็นหัวเรือในการแก้ปัญหาเอง และประเทศอื่นเขารีบไปจับมือไปเจรจา แต่ของเราเหมือนโดดเดี่ยว มีแต่ประเทศไทยประเทศเดียวที่เพิ่งจะรู้ว่าต้องส่งทีมไปเจรจา


พล.ต.ท.ปิยะ กล่าวต่อว่า ศักยภาพทีมเจรจาของไทยที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง ในการเดินทางไปเจรจาดูแล้วยัง "อ่อน" เกินไป ถ้าหากเป็นทีมระดับนี้ไปคุยกับทางสหรัฐฯ เขาก็คงไม่ให้น้ำหนักอะไร ปกติการเจรจาระหว่างประเทศ จะยึดหลักอธิปไตยและความเสมอภาคของรัฐ (sovereign Eguality of State) เป็นหลักสำคัญ ถือกันมาโดยตลอดในการเจรจาระหว่างประเทศ โดยยึดถือหลักการที่ว่า การเจรจาต้องเคารพสิทธิ กฎหมายและให้เกียรติซึ่งกันและกัน โดยถือว่า ทุกประเทศเท่าเทียมกัน ต้องเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน

ถ้าทางไทยส่งเบอร์เล็กไป ทางสหรัฐฯ ก็จะส่งเบอร์เล็กมาเจรจาด้วย แล้วกี่วันจะประสบผลสำเร็จ โดยตนมองว่า นายกรัฐมนตรีควรจะต้องจัดทีมใหม่ เอาคนที่เป็นผู้ใหญ่กว่านี้ และที่สำคัญคือ ควรที่จะเอาคนที่เคยมีความสัมพันธ์หรือคนที่เคยทำงานร่วมกับทางสหรัฐฯ หรือคนที่เขาให้ความเกรงใจมาเป็นตัวหลักในการเจรจา มิเช่นนั้น การเจรจาครั้งนี้จะไม่ได้ผลอย่างแน่นอน  



"ทีมที่ท่านนายกฯจัดตั้งมา ทำงานส่วนใหญ่เป็นทีมซอฟพาวเวอร์ ซึ่งทำงานมาตั้งแต่ 13 กันยายน 2566 ยังไม่เกิด impact อะไรเลย คงจะมีแต่ปลัดกระทรวงพาณิชย์เท่านั้น นอกนั้น เป็นข้าราชการระดับต่ำกว่าอธิบดี ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ เป็นตัวนายกฯ เองหรือรองนายกฯ หรือรัฐมนตรี เหมือนไม่ให้เกียรติคู่เจรจา และจะหวังผลอะไรกับการเจรจา" - ข่าวเวิร์คพอยท์รายงาน


ข่าวที่เกี่ยวข้อง :


TAGS:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Thailand Web Stat