จับเครือข่ายหลอกลงทุนซื้อหุ้นกู้

จับเครือข่ายหลอกลงทุนซื้อหุ้นกู้

19002 ต.ค. 67 17:41   |     Tum1

จับเครือข่ายหลอกลงทุนซื้อหุ้นกู้ “CP ALL” พบเงินหมุนเวียนในระบบกว่า 1,500 ล้านบาท

กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., พล.ต.ต.วิวัฒน์ ชัยสังฆะ, พล.ต.ต.ไพบูลย์ น้อยหุ่น รอง ผบช.ก., พล.ต.ต.อธิป พงษ์ศิวาภัย ผบก.ปอท., พ.ต.อ.ประดิษฐ์ เปการี รอง ผบก.ปอท., พ.ต.อ.พรศักดิ์ เลารุจิราลัย รอง ผบก.ฯ ปรก.บก.ปอท., พ.ต.อ.วัชรพันธ์  ศิริพากย์, พ.ต.อ.เนติ วงษ์กุหลาบ รอง ผบก.ปอท. และ พ.ต.อ.สุพจน์ พุ่มแหยม ผกก.2 บก.ปอท.


เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุม กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) นำโดย พ.ต.ท.นิธิ ตรีสุวรรณ รอง ผกก.2 บก.ปอท. , พ.ต.ท.ณัฐวุฒิ  มงคลการ , พ.ต.ท.ชัยเวง พาด้วง , พ.ต.ท.จักรพงษ์ รุ่งจำกัด , พ.ต.ต.วชิรเชษฐ์ อัครธีระพงศ์, พ.ต.ต.กมลภพ หาญเวช สว.กก.2 บก.ปอท. , พ.ต.ต.ศุภเดช ธนชัยศิริ สว.(สอบสวน) กก.2 บก.ปอท. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.2 บก.ปอท.ได้ร่วมกันจับกุมตัวผู้ต้องหา หลอกลงทุนซื้อหุ้นกู้ “CP ALL” ประกอบด้วย


น.ส.น้ำอ้อย (สงวนนามสกุล) อายุ 34 ปี ตามหมายจับศาลอาญาที่ 2876/2567 ลง 20 มิ.ย.67

น.ส.หนู (สงวนนามสกุล) อายุ 43 ปี ตามหมายจับศาลอาญาที่ 2878/2567 ลง 20 มิ.ย.67

น.ส.สายสมร (สงวนนามสกุล) อายุ 26 ปี ตามหมายจับศาลอาญาที่ 2880/2567 ลง 20 มิ.ย.67

นายบุญมี (สงวนนามสกุล) อายุ 56 ปี ตามหมายจับศาลอาญาที่ 2883/2567 ลง 20 มิ.ย.67

นายภูษิต (สงวนนามสกุล) อายุ 35 ปี ตามหมายจับศาลอาญาที่ 2884/2567 ลง 20 มิ.ย.67



ซึ่งทั้งหมด ต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน 

  1. ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน
  2. ร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่น
  3. ร่วมกันโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งอันเป็นเท็จฯ
  4. มีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติและสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเพื่อกระทำผิดฐานฟอกเงินฯ
  5. ร่วมกันฟอกเงิน
  6. ร่วมกันเป็นอั้งยี่


สืบเนื่องจาก เมื่อประมาณเดือน พ.ย.66 ผู้เสียหายพบกับเพจเฟซบุ๊ก ชื่อ “Brand Cp” โดยใช้โลโก้ของ “CP ALL” โพสต์ภาพถ่าย ข่าวสาร และนำเสนอกิจกรรมต่างๆ ประกาศเชิญชวน-ชักชวนลงทุน และมีผลกำไรตอบแทน เมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อประกอบกับ บริษัทที่ถูกแอบอ้างดังกล่าว เป็นบริษัทที่มั่นคงและน่าเชื่อถือ ผู้เสียหายจึงได้พูดคุยข้อความส่วนตัวกับแอดมินเพจ โดยแอดมินได้ส่งลิงก์บัญชีไลน์ให้ อ้างว่า เป็นเจ้าหน้าที่ดูแลด้านการลงทุน และผู้ฝึกสอนให้ผู้เสียหายทำการเทรดหุ้นเก็งกำไร 

เมื่อผู้เสียหายพูดคุยไปได้ระยะหนึ่ง คนร้ายได้ส่งลิงค์เว็บไซต์ชื่อ “CP ALL” ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่คนร้ายสร้างขึ้นมา เพื่อให้ผู้เสียหายสมัครสมาชิก โดยเมื่อสมัครสมาชิกและเข้าใช้งานแล้ว จะปรากฏยอดเงินที่ผู้เสียหายโอนเงินเข้าไปในระบบ และแสดงผลกำไรที่ได้จากการลงทุน ผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินลงทุนไปยังบัญชีม้าที่คนร้ายได้เตรียมไว้ ประมาณ 16,000 บาท 


ในช่วงแรกสามารถทำรายการถอนเงินลงทุนและกำไรได้ทั้งหมด จากนั้นคนร้ายชักชวนให้ผู้เสียหายลงทุนต่อเนื่อง เพื่อสร้างผลกำไรที่มากขึ้น และกำหนดเงื่อนไขในการถอนเงิน ต้องทำการเทรดให้ครบตามกำหนด ผู้เสียหายได้โอนเงินลงทุนเข้าไปในระบบจำนวนมากขึ้น สุดท้ายไม่สามารถถอนเงินจากระบบได้ โดยคนร้าย อ้างว่า จะต้องมีการชำระเงินค่าภาษีก่อน จึงจะสามารถทำรายการถอนเงินทั้งหมดได้ ผู้เสียหายจึงเชื่อว่าถูกหลอกลวง และแจ้งความร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับกลุ่มคนร้าย


โดยจากการตรวจสอบกับระบบแจ้งความออนไลน์ พบผู้เสียหายหลงเชื่อ โอนเงินให้กับคนร้ายกลุ่มดังกล่าวกว่า 180 ราย มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 62 ล้านบาท จากการตรวจสอบพบว่า คนร้ายได้มีการยักย้ายถ่ายเทเงินที่ได้จากการกระทำความผิด เปลี่ยนเป็นเงินดิจิทัล (สกุล USDT) โดยพบเงินหมุนเวียนในกระเป๋าเงินดิจิทัลของกลุ่มคนร้ายกว่า 1,500 ล้านบาท

เจ้าหน้าที่ตำรวจ จึงได้ร่วมกันทำการสืบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน ขออนุมัติหมายจับเครือข่ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ดังกล่าว มีทั้งชาวไทย, กัมพูชา, เวียดนาม และจีน จำนวนหลายราย ประกอบด้วย 

  • กลุ่มบัญชีม้า
  • กลุ่มบัญชีคริปโตม้า
  • กลุ่มนายทุนและฟอกเงิน 



โดยต่อมาเมื่อวันที่ 16 ก.ย.67 ถึงวันที่ 1 ต.ค.67 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.2 บก.ปอท. พร้อมด้วย บก.ป.บูรณาการร่วมกันจับกุมผู้ต้องหาชาวไทยได้ จำนวน 5 ราย ในพื้นที่ นครราชสีมา , ปราจีนบุรี, สระแก้ว และนราธิวาส

สอบถามคำให้การเบื้องต้น ผู้ต้องหาทั้ง 5 ราย ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา แต่ให้การยอมรับในข้อเท็จจริง โดยผู้ต้องหาจำนวน 3 ราย ให้การสอดคล้องกันว่า ได้หางานทำผ่านโซลเชียลมีเดีย และถูกหลอกพาข้ามฝั่งไปทำงานที่ปอยเปต ประเทศกัมพูชา ผ่านทางช่องทางธรรมชาติ ถูกบังคับให้เปิดบัญชีธนาคารและบัญชีแลกเปลี่ยนเหรียญดิจิทัล ถ้าไม่ทำตามคำสั่งก็จะถูกทำร้ายร่างกาย โดยในแต่ละวันจะมีเครือข่ายสมาชิกของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ มารับตัวไปยังที่ทำการของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ บังคับให้สแกนใบหน้าในการทำธุรกรรมทางการเงินตลอดวัน ระยะเวลาประมาณ 5-7 วัน (หรือจนกว่าบัญชีจะถูกอายัด) ได้รับค่าจ้างวันละ 1,000 บาท จากนั้น จะพากลุ่มผู้ต้องหาไปทิ้งไว้ที่บริเวณชายแดน เพื่อให้เดินทางกลับฝั่งไทยเองผ่านช่องทางธรรมชาติ



ส่วนผู้ต้องหาอีก 2 ราย ให้การว่า ประมาณปลายปี 2566 ได้มีกลุ่มบุคคลไม่ทราบเป็นผู้ใด เดินทางมาที่หมู่บ้าน โดยอ้างว่า เป็นเจ้าหน้าที่มาทำการสแกนใบหน้า และดำเนินการขอสิทธิเกี่ยวกับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยผู้ต้องหาถูกหลอกลวง เอาภาพถ่ายใบหน้าและบัตรประจำตัวประชาชน ไปเปิดบัญชีแลกเปลี่ยนเหรียญดิจิทัล ให้กับกลุ่มคนร้ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์

ในส่วนผู้ต้องหากลุ่มนายทุนและฟอกเงิน ที่ได้ออกหมายจับไว้ และยังหลบหนีคดีอยู่ในต่างประเทศ จะได้ทำการประสานติดตามจับกุมตัวต่อไป


TAGS:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง