จับตา “3 รอยเลื่อน” หากเกิดแผ่นดินไหวจะกระทบ กทม.

จับตา “3 รอยเลื่อน” หากเกิดแผ่นดินไหวจะกระทบ กทม.

70902 เม.ย. 68 20:27   |     Tum1

ผอ.ศูนย์วิจัยแผ่นดินไหว ชี้ต้องจับตา “3 รอยเลื่อน” หากเกิดแผ่นดินไหวจะกระทบ กทม. แม้อยู่ไกล อ่อนกำลัง แต่เป็นแหล่งดินอ่อนทำให้แรงไหวขยายตัว

(2 เม.ย.68) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการเสวนาหัวข้อ “สังคายนา ระบบเตือนภัย” ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย ผอ.ศูนย์วิจัยแผ่นดินไหว สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า ในภูมิภาคที่ไทยอยู่ มีแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวอยู่จำนวนมาก มีรอยเลื่อนที่เห็นเป็นแนวยาวจากทางทิศเหนือลงใต้ ส่วนใหญ่อยู่ในเมียนมา บางส่วนอยู่ในประเทศจีน และบางส่วนอยู่ในไทย ซึ่งมีรอยค่อนข้างเล็ก และมีอัตราการเลื่อนตัวต่ำกว่าที่อยู่ในเมียนมา และในเมียนมาเองก็มีรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือก ของอินเดียกับเปลือกของฝั่งไทย อยู่ตามแนวทะเลอันดามันไปจนถึงฝั่งตะวันตกของเมียนมา ซึ่งเป็นแหล่งที่กำเนิดแผ่นดินไหวได้ทั้งหมด แต่จะมีผลกระทบต่อ กทม.และปริมณฑล มีไม่กี่แหล่ง ตามเคยประเมินความเสี่ยงไว้ก่อนหน้านี้ 



แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวแรก ที่อาจจะส่งผลได้คือ รอยเลื่อนใน จ.กาญจนบุรี ที่อาจทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้สูงสุด ขนาด 7.5 และจะส่งผลกระทบมาถึง กทม.ได้ เนื่องจากอยู่ใกล้ ซึ่งหลาย 10 ปีก่อนก็เคยเกิดขนาด 5.9 แต่ตอนนั้น กทม.ยังมีอาคารสูงน้อยมาก แต่ที่เป็นอันตรายต่อมากคือ รอยเลื่อนสะกาย ที่ผ่ากลางเมียนมา และแนวสุดท้ายคือ "แนวมุดตัวอาระกัน" ซึ่งเป็นแนวมุดตัวของแผ่นเปลือก 

โดยทั้ง 3 แหล่งนี้ถึงแม้อยู่ไกล ก็ส่งคลื่นแผ่นดินไหวได้มาถึง กทม.ได้ ซึ่งถ้า กทม.เป็นแบบภาวะปกติ ถ้าธรณีวิทยาเหมือนจุดอื่นๆในโลก ไทยก็คงไม่ต้องเป็นห่วงกังวลอะไรมาก แต่เนื่องจาก กทม.เป็นแหล่งดินอ่อนขนาดใหญ่ ที่ กทม.ตั้งอยู่ขยายความรุนแรงของแผ่นดินไหวได้ 3-4 เท่าตัว แม้ว่าจะอยู่ห่างเป็น 1,000 กม.แม้มันจะอ่อนแรงลงแล้ว แต่มันจะขยายขึ้นมาอีกได้ 3-4 เท่าตัว ถึงแม้จะเกิดแผ่นดินไหวอยู่ที่ จ.กาญจนบุรี หรือเกิดแผ่นดินไหวอยู่ในเมียนมาหรือแม้แต่แนวมุดตัวอาระกัน จะเดินทางมา กทม.อ่อนแรงไปแล้วก็ตาม ก็จะถูกขยายให้แรงขึ้นใหม่ได้ 



ผอ.ศูนย์วิจัยแผ่นดินไหว ระบุว่า ปัญหาไม่ได้อยู่กับว่าแรงแผ่นดินไหวจากที่ไกลดังกล่าว ขยายขึ้นมา 4-5 เท่าตัวเท่านั้น แต่ที่ขยายขึ้นมาเป็นคลื่นความถี่ต่ำ การสั่นสะเทือนบนผิวดินเคลื่อนตัวแบบช้าๆ กว่าจะครบรอบใช้เวลาหลายนาที เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว (28 มี.ค.68) สับไปสับมาแบบซ้ายทีขวาที จึงไม่ส่งผลต่ออาคารขนาดเล็ก แต่อาคารที่โยกตัวเข้าจังหวะกับพื้นดินคืออาคารสูง เมื่อจังหวะตรงกัน จึงขยายความแรงและส่งผลกระทบต่ออาคารสูงได้ 


โดยประเทสไทย กำหนดมาตรฐานการออกแบบอาคาร มาตั้งแต่ปี 2550 ตามกฎหมายว่า อาคารใน กทม.และปริมณฑล ต้องออกแบบให้สามารถต้านทานแผ่นดินไหวได้ มีมาตรฐานการออกโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง ใน กทม.มาตรฐานนี้ได้กำหนดเส้นกราฟ โดย กทม.กำหนดออกเป็น 10 พื้นที่ ให้ความสำคัญมากที่สุดคือ พื้นที่ กทม.และธนบุรี มีเส้นกราฟที่วิศวกรสามารถนำไปเอาไปคำนวณแผ่นดินไหวได้ (เป็นเส้นหมายเลข 5 ระบุความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่จะเกิดขึ้น)



อย่างไรก็ตาม มีคำถามว่า เหตุการณ์เมื่อวันที่ 28 มี.ค.68 แผ่นดินไหวรุนแรงขนาดที่ไทย (กทม.) ประเมินไว้หรือไม่ ซึ่งเชื่อว่าสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ฉะนั้นมีโอกาสเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ที่จะเกิดขึ้น หรือมีโอกาสมากที่มันจะไม่เกิดขึ้น แต่ก็ต้องออกแบบเผื่อไว้ ซึ่งถือว่าโชคดีที่กรมอุตุนิยมวิทยา เก็บข้อมูลไว้ มีตัวสถานีวัดความรุนแรงแผ่นดินไหวทั่วประเทศ ใน กทม.มี 5 แห่ง ตอนนี้ได้ข้อมูลมา 2 แห่งคือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จึงรู้ว่า กทม.สั่นแรงแค่ไหน เรียกว่าอัตราเร่งของแรงสั่นสะเทือน จะอธิบายว่า กราฟในแนวดิ่งหรือแนวตั้ง ยิ่งค่าสูงแรงที่กระทำต่ออาคารแรงมาก ยิ่งเส้นลงมาต่ำก็จะเบาลง ส่วนแนวราบคือ ภาพสั่นการโยกไหว ว่านานเท่าไหร่ และกราฟเส้นสีม่วง จะบอกว่า หากออกแบบอาคารให้สามารถรองรับถึงจุดนี้ได้ อาคารก็จะไม่พังลงมา - ข่าวเวิร์คพอยท์รายงาน


TAGS:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Thailand Web Stat