ตัวแทนสภาองค์การลูกจ้างฯ ยื่นหนังสือสนับสนุนทำปฏิทินประกันสังคม ยกการเข้าถึงปฏิทินอย่างเท่าเทียม
ตัวแทนสภาองค์การลูกจ้างฯ ยื่นหนังสือสนับสนุนทำปฏิทินประกันสังคม ยกการเข้าถึงปฏิทินอย่างเท่าเทียม

ตัวแทนสภาองค์การลูกจ้างฯ ยื่นหนังสือสนับสนุนทำปฏิทินประกันสังคม ยกการเข้าถึงปฏิทินอย่างเท่าเทียม ชี้ผลกระทบหากยุติการจัดทำ
(17มิ.ย.68) เวลา 10.00 น. ที่ กองอำนวยการ สำนักงานประกันสังคม สำนักงานใหญ่รัตนาธิเบศร์ นนทบุรี นายมนัส โกศลประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย (สพท.) มอบหมายให้ตัวแทนเข้ายื่นหนังสือต่อปลัดกระทรวงแรงงานในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม เรื่องขอสนับสนุนการจัดทำปฏิทินประกันสังคม โดยมี นางมารศรี ใจรังษีเลขาธิการสำนักงาน ประกันสังคม เป็นผู้รับหนังสือ จาก นายขวัญทูล แดงสกุล รองประธานสภาฯ , นายจิรศักดิ์ ล้ำเลิศ เลขาธิการสภาฯ และมีสมาชิกสหภาพแรงงานฯ ในสังกัดสภาฯ เข้าร่วมการยื่นหนังสือด้วย
โดยหนังสือที่นำมายื่นเป็นบทวิเคราะห์เรื่อง "ปฏิทินประกันสังคม ความชอบธรรมของเครื่องมือประชาสัมพันธ์สิทธิ์ในยุคเปลี่ยนผ่าน ระบุว่า ด้วยสำนักงานประกันสังคม จะมีการจัดทำปฏิทินประกันสังคมปีงบประมาณ 2568 โดยให้เหตุผลเรื่องความคุ้มค่าทาง
งบประมาณ และผลสำรวจความต้องการของผู้ประกันตน ซึ่งอาจสะท้อนเฉพาะกลุ่มผู้มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
อย่างไรก็ตามจากการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นพบว่าหากจะมีการยุติการจัดทำปฏิทินดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อกลุ่มแรงงานนอกระบบ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ เกษตรกร และประชาชนในพื้นที่ชนบทที่ยังไม่สามารถเข้าถึงระบบดิจิทัลได้อย่างเท่าเทียม
จากข้อวิเคราะห์ในเอกสารสิ่งที่ส่งมาด้วย ปฏิทินประกันสังคมถือเป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์เชิงสิทธิ (Ights-Based
Communication Tool) ที่มีบทบาทในการกระจายข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนตามมาตรา 33 , 39 , 40 อย่างต่อเนื่อง ครอบคลุม และเข้าใจง่าย ซึ่งถือเป็นการเสริมสร้างศักยภาพของประชาชนในการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 47, 55 และ 59 รวมถึงหลักสิทธิมนุษยชนสากลว่าด้วยสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
ในนามของสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย (สพท.) ขอเสนอแนะแนวนโยบายเพื่อประกอบ
พิจารณาดังต่อไปนี้
1.ให้พิจารณาทบทวนการยุติการจัดทำปฏิทินประกันสังคม โดยคงไว้ซึ่งรูปแบบสิ่งพิมพ์สำหรับกลุ่มประชาชนที่มีข้อจำกัด
ในการเข้าถึงเทคโนโลยี
2.ให้พัฒนารูปแบบการสื่อสารแบบผสมผสาน (Hybrid Communication) โดยควบรวมปฏิทินแบบสิ่งพิมพ์และสื่อดิจิทัล
เข้าถึงง่าย
3.ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ประกันตนทุกกลุ่มก่อนการออกแบบหรือตัดสินใจเชิงนโยบาย
4.ใช้แนวทาง Universal Design และการประเมินผลกระทบทางสังคม (SROI) เป็นฐานในการประเมินความคุ้มค่าของนโยบาย
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความเห็นชอบ และสนับสนุนการดำเนินการตามข้อเสนอแนวทางข้างต้น เพื่อส่งเสริม
สิทธิและความเสมอภาคในการเข้าถึงข้อมูลของประชาชนทุกกลุ่มอย่างทั่วถึงและยั่งยืน
หนังสือต่อปลัดกระทรวงแรงงานในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม เรื่องขอสนับสนุนการจัดทำปฏิทินประกันสังคม
ที่มา : สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย (สพท.)
ข่าวเวิร์คพอยท์23
TAGS:
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตม.ไทย จัดช่องทางพิเศษสำหรับกลุ่มครอบครัวนักเรียนจีน ต้อนรับช่วงปิดเทอมจีน อำนวยความสะดวกในการเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย
