เปิด 12 อันดับเขตพื้นที่ กทม. เผชิญฝุ่น PM2.5 สูงสุด

เปิด 12 อันดับเขตพื้นที่ กทม. เผชิญฝุ่น PM2.5 สูงสุด

43921 ม.ค. 68 18:16   |     ข่าวเวิร์คพอยท์

เปิด 12 อันดับเขตพื้นที่ กทม. เผชิญฝุ่น PM2.5 สูงสุด โดยค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 65.6 มคก./ลบ.ม.

(21ม.ค.68) ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร ขอรายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในกรุงเทพมหานคร ประจำวันที่ 21 มกราคม 2568 เวลา 15:00 น. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 65.6 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.)


สำหรับ 12 อันดับ ของค่าฝุ่นPM2.5 เขตสูงสุดในกรุงเทพมหานคร


  1. เขตหนองแขม 93.1 มคก./ลบ.ม.
  2. เขตบางขุนเทียน 81.6 มคก./ลบ.ม.
  3. เขตสายไหม 79.5 มคก./ลบ.ม.
  4. เขตภาษีเจริญ 78.9 มคก./ลบ.ม.
  5. เขตทวีวัฒนา 75 มคก./ลบ.ม.
  6. เขตตลิ่งชัน 74.7 มคก./ลบ.ม.
  7. เขตธนบุรี 74.4 มคก./ลบ.ม.
  8. เขตบางบอน 74.2 มคก./ลบ.ม.
  9. เขตมีนบุรี 73.8 มคก./ลบ.ม.
  10. เขตหลักสี่ 73.3 มคก./ลบ.ม.
  11. เขตบางกอกใหญ่ 71.4 มคก./ลบ.ม.
  12. เขตพระโขนง 71.3 มคก./ลบ.ม.


กรุงเทพเหนือ


  • 59.7 - 79.5 มคก./ลบ.ม.
  • ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ


กรุงเทพตะวันออก


  • 62.4 - 73.8 มคก./ลบ.ม.
  • ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ


กรุงเทพกลาง


  • 53.3 - 69.9 มคก./ลบ.ม.
  • ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ


กรุงเทพใต้


  • 55.6 - 71.3 มคก./ลบ.ม.
  • ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ


กรุงธนเหนือ


  • 59.6 - 75 มคก./ลบ.ม.
  • ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ


กรุงธนใต้


  • 61.6 - 93.1 มคก./ลบ.ม.
  • ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ


ฝุ่นละอองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ภาพรวม : คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ 


ข้อแนะนำสุขภาพ


คุณภาพอากาศระดับสีแดง : มีผลกระทบต่อสุขภาพ


ประชาชนทุกคน


  • งดกิจกรรมกลางแจ้ง
  • หากมีความจำเป็นต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองทุกครั้ง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5
  • หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยจากมลพิษทางอากาศ ให้เตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อมและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด


คุณภาพอากาศระดับสีส้ม : เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ


ประชาชนทั่วไป


  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร
  • จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก
  • ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา


ประชาชนกลุ่มเสี่ยง


  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร
  • เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์


ที่มา : กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร 


ข่าวเวิร์คพอยท์23


ข่าวที่เกี่ยวข้อง



TAGS:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง