ประกาศราชกิจจาฯ ‘พ.ร.ก.ไซเบอร์ฉบับใหม่’ ธนาคาร-ค่ายมือถือรับผิดด้วย มีผล 13 เม.ย.

ประกาศราชกิจจาฯ ‘พ.ร.ก.ไซเบอร์ฉบับใหม่’ ธนาคาร-ค่ายมือถือรับผิดด้วย มีผล 13 เม.ย.

107213 เม.ย. 68 12:34   |     AdminNews

โปรดเกล้าฯ พ.ร.ก.ไซเบอร์ ปราบอาชญากรรมไซเบอร์-แก๊งคอลเซ็นเตอร์ กำหนดให้ธนาคาร-เครือข่ายมือถือ ต้องร่วมรับผิดชอบ

วันที่ 12 เมษายน 2568 เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2568 คุ้มครองประชาชนถูกหลอกลวงทางไซเบอร์ ธนาคาร-เครือข่ายมือถือ บังคับใช้แล้ว 13 เม.ย. โดยมีสาระสำคัญดังนี้


พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พระราชกำหนดนี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 26 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 36 มาตรา 37 และมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย


เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชกำหนดนี้ เพื่อคุ้มครองประชาชนผู้สุจริตซึ่งถูกหลอกลวงจนสูญเสียไปซึ่งทรัพย์สิน โดยผ่านโทรศัพท์หรือวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งแต่ละวันมีผู้ถูกหลอกลวงจำนวนมากและมีมูลค่าความเสียหายสูงมาก สมควร มีมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมประเภทนี้ให้หมดไปโดยเร็ว อันเป็นกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัย สาธารณะ และความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งการตราพระราชกำหนดนี้สอดคล้องกับ เงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว


-เพื่อป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในกรณีที่มีเหตุอันควร สงสัยว่ามีหรืออาจมีการกระทำความผิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบ ธุรกิจมีหน้าที่เปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีและธุรกรรมของลูกค้าที่เกี่ยวข้อง และเลขที่ กระเป๋าสินทรัพย์ดิจิทัลในระหว่างสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจนั้นผ่านระบบหรือกระบวนการ เปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เห็นชอบร่วมกัน”


-ให้ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์และผู้ให้บริการโทรคมนาคมอื่นมีหน้าที่ตรวจสอบเพื่อคัดกรอง เนื้อหาการบริการสารสั้น (SMS) ที่อาจเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีตามมาตรฐาน หรือมาตรการที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติกำหนดตามวรรคหนึ่งมาตรา 4/2 เมื่อ ศปอท. ได้แจ้งรายชื่อบุคคลหรือเลขที่กระเป๋าสินทรัพย์ดิจิทัลที่เกี่ยวข้อง กับการกระทำความผิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยีตามประกาศในมาตรา 8/5 (2) ให้สถาบันการเงิน หรือผู้ประกอบธุรกิจปฏิเสธการเปิดบัญชี ระงับการให้บริการหรือการทำธุรกรรม หรือปิดบัญชี กับบุคคลที่มีรายชื่อหรือเลขที่กระเป๋าสินทรัพย์ดิจิทัลดังกล่าว จนกว่าจะมีการเพิกถอนรายชื่อบุคคล หรือเลขที่กระเป๋าสินทรัพย์ดิจิทัลนั้น”


-ในกรณีที่ปรากฏพยานหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีการใช้บริการโทรคมนาคมเพื่อกระทำ ความผิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยีไม่ว่าจะปรากฏจากการตรวจสอบข้อมูลตามวรรคหนึ่ง หรือพยานหลักฐานอื่นใด ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน หรือ ศปอท. แล้วแต่กรณี แจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติสั่งให้ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ ผู้ให้บริการ ไทรคมนาคมอื่น หรือผู้ให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการกระทำนั้น ระงับการให้บริการโทรคมนาคมดังกล่าว


-มาตรา 7/1 เมื่อความปรากฏต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมาย ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ว่ามีผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีคำสั่งระงับ การทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายออกจากระบบ คอมพิวเตอร์โดยพลัน


-มาตรา 8/11 สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 4/2 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5 แสนบาท ในกรณีเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการ หรือนิติบุคคล ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


อ่าน พ.ร.ก.ไซเบอร์ ฉบับเต็มได้ที่ลิงค์ : https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/67320.pdf

TAGS:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Thailand Web Stat