“กองทัพไทย” เปิดภาพถ่ายทางอากาศพื้นที่ข้ดแย้งตอกกลับ “กัมพูชา”

“กองทัพไทย” เปิดภาพถ่ายทางอากาศพื้นที่ข้ดแย้งตอกกลับ “กัมพูชา”

6110 มิ.ย. 68 13:23   |     AdminNews

“กองทัพไทย” เปิดภาพถ่ายทางอากาศพื้นที่ข้ดแย้งตอกกลับ “กัมพูชา” จากอดีตถึงปัจจุบัน เป็นหลักฐานและภาพประวัติศาสตร์ที่เปิดเผยความจริงที่เกิดขึ้น ให้นานาชาติและคนไทยได้รับรู้ ชี้ทหารเขมรเพิ่งเข้ามาวางกำลัง ยันจุดปะทะอยู่ในเขตไทย

(10 มิ.ย. 68) เฟซบุ๊ก Wassana Nanuam ของวาสนา นาน่วม นักข่าวสายทหาร โพสต์ข้อความระบุว่า ทัพไทย เปิดภาพถ่ายทางอากาศ และภาพจากดาวเทียม พื้นที่สามเหลี่ยมมรกต ช่องบก พิกัดและเนิน 574- 641 -745 ตั้งแต่ปี 2520 จนถึง 2539 ก่อนทำ MoU 43 และภาพถ่ายหลังทำ MoU 43 ภาพปี 2546 จนถึงปี 2567 ไม่พบทหารเขมร เข้ามาวางกำลัง ชี้ ทหารเขมรเพิ่งเข้ามาวางกำลัง เมื่อต้นปี มีค-เมย.2568 ยัน ไม่ได้เข้ามาอยู่นาน หรือยึดครอง มาก่อนทำ MoU 2543 ตามที่ “ฮุนเซน” อ้าง


พบมาตั้งฐานทหาร เมื่อ เม.ย.2568 และขุดคูเลต พบใช้รถแบคโฮลด์ เข้ามา ปรับพื้นที่ 24 พค. 2568 พบ เขมรตัดต้นพญาสัตบรรณขวางถนน ปิดเส้นทางกันทหารไทยเข้าพื้นที่ด้วย ยันจุดปะทะแถวต้นพญาสัตบรรณอยู่ในเขตไทย ชัดเจน

เพราะเขมรล้ำเข้ามา ในดินแดนไทย เตรียมนำไปยัน ใน JBC 14 มิย. นี้ ที่พนมเปญ


พลตรี วิทัย ลายถมยา โฆษกกองบัญชาการกองทัพไทย เปิดข้อมูลแผนที่ทางอากาศ ที่จัดทำโดย กรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย กรณีพิพาทระหว่างไทย-กัมพูชา เพื่อยืนยันการเข้ามาในพื้นที่ สามเหลี่ยมมรกต ช่องบก ก่อนหรือหลัง MoU 2543 และภาพถ่ายทางอากาศ ตรงจุดปะทะระหว่างทหารไทยและกัมพูชา 28 พค.2568 แนวต้นพญาสัตบรรณ


โดยยกภาพถ่ายทางอากาศ ตั้งแต่ปี 2497 และมาในปี 2520 จนถึงปี 2527 ยืนยันว่าไม่มีฝ่ายใด เข้าไปใช้พื้นที่ หรือตั้งฐานที่มั่น รวมทั้งภาพถ่ายทางอากาศ ต่อเนื่อง มาถึงปี 2539 ส่วนหลัง ทำ MoU 2543 ได้มีการนำภาพถ่าย ของปี 2546 , 2553 และ 2561 มายืนยัน ได้ว่าช่วง 70 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2497 ไม่มีใครเข้ามาถือครองและใช้ชีวิตในพื้นที่นี้


อีกทั้ง ตามภาพถ่ายทางอากาศ แสดงการเคลื่อนไหวทางการทหาร ที่แตกต่าง เปรียบเทียบจากปี 2563 กับ เดือนเมษายน 2568 มีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศ และเพียงแค่ผ่านมา 1 เดือน จาก 12 เมษายน มาถึงวันที่ 24 พฤษภาคม 2568 ก่อนเกิดการปะทะในวันที่ 28 พฤษภาคม 2568 


ที่พบการขุดคูเลตอย่างชัดเจน เพื่อเป็นจุดเชื่อมต่อในการปฏิบัติการทางทหาร โดยมีการใช้รถแบคโฮ เข้ามาสร้างฐานที่มั่น

นอกจากนี้ ข้อมูลของกองทัพไทย ยังได้ชี้ให้เห็น เส้นสีแดงในแผนที่ เป็นเส้นแนว ที่ไทยยึดถือใช้แบ่งแนวเขตระหว่างไทย กัมพูชา และลาว ที่ชี้ว่า จุดปะทะ 28 พค. นั้น อยู่ในเขตไทย พร้อมพบว่า ก่อนหน้านี้ มีการตัดต้นพญาสัตบรรณ ให้ขวางเส้นทาง เดินลาดตระเวน 


ทัพไทย ยังเปิดภาพถ่ายทางอากาศ ที่ เนิน 574 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2568 เป็นการเปรียบเทียบ ภาพที่ยังไม่มีการเคลื่อนไหวในการขุด แต่เมื่อผ่านไป 1 เดือน ตรวจพบการถากถางพื้นที่ ด้วยเครื่องจักรกลก่อสร้าง ใช้รถแบคโฮและเกลี่ยดิน สร้างแนวคูเลต ที่กำบังเข้าแนวยิงและเส้นทางส่งกำลังบำรุง


และ ภาพถ่ายทางอากาศที่เนิน 641 ในปี 2563 และเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2568 พบฐานทหารของกัมพูชา มีการปรับปรุง คูกำบังเข้าแนวยิงจากเดิม รวมถึงเส้นทางส่งกำลังบำรุงและถนนลูกรัง จัดทำเป็นถนนคอนกรีตกว้าง 4-6 เมตร อย่างจริงจัง


ส่วนที่เนิน 745 ภาพถ่ายทางอากาศตั้งแต่ปี 2547 และ 2563 จนมาถึง ต้นปี 2568 ยังไม่มีการขยับใดๆ แต่ 24 พฤษภาคม 2568 เห็นชัดเจนว่า มีการสร้างแนวคูเลตยาว และถากถางพื้นที่จากทหารฝั่งกัมพูชา ทำเป็นคูติดต่อ แนวคูเลต ในเชิงสัญลักษณ์ทางทหาร สะท้อนว่า แนวที่สร้างขึ้นมา ในกรณีจะใช้ทางยุทธวิธี และละเมิด MOU 2543 


ทั้งนี้ พื้นที่ที่ยังไม่สามารถปักปันเขตแดน ให้ใช้งานร่วมกันในการลาดตระเวน และ ทำกิจกรรมร่วมกัน แต่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนสภาพภูมิประเทศได้


ขอบคุณข้อมูล : Wassana Nanuam

TAGS:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Thailand Web Stat