สถานทูตจีนถก สส.พรรคประชาชน ปัญหาสารพิษปนเปื้อนลำน้ำ
สถานทูตจีนถก สส.พรรคประชาชน ปัญหาสารพิษปนเปื้อนลำน้ำ

สถานทูตจีน เชิญ “สส.ตี๋ ภัทรพงษ์” ร่วมหารือปัญหาสารพิษปนเปื้อนในลำน้ำ กก-รวก-โขง-สาย - พรรคประชาชนเสนอใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับแร่ระดับภูมิภาค พร้อมผลักดันการแก้ปัญหาผ่านกลไก LMEC
(26 มิ.ย. 68) นายภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาชน เปิดเผยถึงการหารือร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหามลพิษในแม่น้ำกกและแม่น้ำสาย ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังที่ประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายต้องเผชิญมาตลอดปี โดยเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการประสานความร่วมมือและเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกับประเทศในลุ่มน้ำโขงให้ชัดเจน โดยระบุว่า
“การแก้ไขปัญหามลพิษน้ำกก-สาย ต้องทำโดยประสานความร่วมมือและเสนอแนวทางการแก้ไขร่วมกับประเทศในลุ่มน้ำโขงให้ชัดเจนครับ
ถือเป็นโอกาสที่ดี ที่เมื่อวานนี้ ทางสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ได้เชิญพรรคประชาชน, โดยมี อ.เดชรัต สุขกำเนิด และผม เป็นผู้แทนพรรค, เข้าหารือประเด็นปัญหามลพิษในน้ำกก-สาย ที่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่-เชียงราย เผชิญมาตลอดปี
โดยทางผมได้ยื่นข้อเสนอและขอประสานความร่วมมือในการแก้ปัญหาในเบื้องต้นกับทางจีน ดังนี้
การตรวจสอบห่วงโซ่ตลอดห่วงโซ่อุปทานของผู้นำเข้าแร่ โดยขอข้อมูลการนำเข้าแร่จากเมียนมา เข้าสู่จีนว่า ที่ผ่านมาได้นำเข้าจากเหมืองในพื้นที่ใดบ้าง และขอตัวอย่างของระบบการตรวจสอบย้อนกลับของจีน “Rare Earth Product Traceability Information System” ในส่วนนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างมาก ในการนำมา revise กฎหมายแร่ ของไทยเราเอง ที่แก้ไขครั้งล่าสุดตั้งแต่ปี 2560 และไม่ได้มีการระบุในส่วนนี้เพื่อมารองรับปัญหานี้ในประเทศไทย รวมถึงการใช้ระบบนี้ เป็นหนึ่งในการดำเนินการในระยะเร่งด่วนของกรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง (LMC) ผ่านกลไกข้อตกลงการทำงานร่วมกันด้านสิ่งแวดล้อมตามกรอบความร่วมมือนี้ (LMEC)
ทางพรรคประชาชนจะใช้กลไกทางสภาในการผลักดันการแก้ปัญหานี้กับรัฐบาลไทยทุกช่องทาง และขอให้ทางจีนร่วมกับไทย ในการเริ่มต้นใช้กลไกของ LMEC ที่ประชุมครั้งสุดท้ายต้องย้อนไปถึงปี 2022 ไม่มีการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมมานานมาก ดำเนินการเรียกประชุมโต๊ะกลม (Roundtable Dialogue) กับประเด็นปัญหามลพิษทางน้ำในลุ่มน้ำโขง ที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอย่างหนัก และจัดทำ Action plan ในระยะเร่งด่วน เพื่อบรรเทาปัญหานี้ให้กับประชาชน และแผนงานในระยะกลาง ระยะยาว ในการแก้ไขและป้องกันอย่างถาวรครับ เสนอให้ชัดว่าแต่ละประเทศจะดำเนินการอย่างไร ส่วนไหน รวมถึงการอุดช่องโหว่ในเรื่องการลักลอบนำเข้า และการสวมแร่ของผู้นำเข้าแร่ในลุ่มน้ำนี้ด้วย
ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ยืนยันว่ามีการใช้ระบบตรวจสอบย้อมกลับตลอดห่วงโซ่ในจีนอยู่แล้ว และเห็นด้วยกับการนำระบบนี้มาใช้ในระดับภูมิภาค พร้อมแจ้งว่า การตรวจสอบเบื้องต้นของทางจีนเอง พบว่า ไม่มีธุรกิจจีนเกี่ยวข้องกับการทำเหมืองในพื้นที่โดยตรง แต่หากฝ่ายไทยมีข้อมูลว่าธุรกิจจีนไปรับจ้างทำเหมืองในเมียนมา หรือลักลอบนำแร่เข้าจีน ให้แจ้งให้ทางจีนได้เลย โดยทางจีนพร้อมดำเนินการอย่างเต็มที่ ตามนโยบาย Green Supply Chain ที่ทางจีนให้สำคัญในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นอย่างมาก และทางจีนได้ประสานกับทางเมียนมาถึงปัญหานี้ ซึ่งล่าสุดทางเมียนมายินดีร่วมสำรวจพื้นที่เมียนมาร่วมกับทางการไทยแล้วครับ
นอกจากเรื่องมลพิษทางน้ำแล้ว ผมยังประสานความร่วมมือกับทางจีนในเรื่องมลพิษทางอากาศ ในการเข้าถึงข้อมูลทางดาวเทียมของจีน และข้อมูลการใช้ Hyperspectral UAV เพื่อใช้ตรวจสอบและวางแผนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศต่อไปครับ
ผมและพรรคประชาชนจะเดินหน้าผลักดัน และติดตามการแก้ไขปัญหานี้อย่างใกล้ชิด ในทุกช่องทางผ่านกลไกต่าง ๆ ที่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ พร้อมเสนอทางออกที่จะลดและแก้ไขปัญหานี้อย่างต่อเนื่องครับ
แม้สองสามวันที่ผ่านมา ผมจะไม่อยู่ในพื้นที่ แต่ยังมี #ทีมตี๋ อยู่ในพื้นที่ตลอดนะครับ หากใครมีปัญหาในพื้นที่สามารถส่งข้อความมายังเพจนี้ได้เลยครับ อะไรที่อยู่ในอำนาจหน้าที่พร้อมดำเนินการเต็มที่ อะไรที่อยู่นอกเหนือ ก็จะประสานเต็มที่เช่นกันครับ”
TAGS:
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วินาทีสลด! หญิงวัย 75 ขี่ซาเล้งย้อนศรถูกรถชนดับ ก่อนรถคู่กรณีพุ่งชนกระบะและจยย.เจ็บระนาว รถเสียหายหลายคัน

ชาวบ้านเกษตรกรกำแพงเพชรไม่พอใจ"ไอซ์ รักชนก"ยื่นหนังสือถึงพรรคประชาชน กรณีโพสต์งบประมาณปี 2569 ของจังหวัดฯ

อดีตนายกฯ “ทักษิณ” เข้าร่วมหารือกับ “ทีมไทยแลนด์” และรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ถกแนวทางรับมือสหรัฐฯภาษีนำเข้าไทย 36%
