ทำไมอเมริกาใช้รถบัสเหลือง ปลอดภัยเต็มที่เพื่อนักเรียนทุกคน

ทำไมอเมริกาใช้รถบัสเหลือง ปลอดภัยเต็มที่เพื่อนักเรียนทุกคน

62704 ต.ค. 67 18:44   |     ข่าวเวิร์คพอยท์

รู้ไหมทำไมอเมริกาถึงใช้รถโรงเรียนสีเหลือง? ส่องระบบความปลอดภัยทุกมิติของรถบัสเหลือง เพื่อดูแลชีวิตนักเรียนหลายล้านคน!

(เรียบเรียงโดย ปิยะธิดา ผ่านจังหาร)

คอหนังฝรั่งโดยเฉพาะหนังที่มีตัวเอกเป็นวัยรุ่นวัยเรียน คงคุ้นตากับรถนักเรียนสีเหลืองสดใสของอเมริกา ที่ไม่ว่าจะดูเรื่องไหนก็เห็นใช้รถรุ่นเดียวกันทั้งหมด รถที่เห็นนั้นเรียกว่า "National School Bus Glossy Yellow" ถูกพัฒนาต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 1939 จนถึงปัจจุบัน มีความปลอดภัยกว่ารถทั่วไป 70 เท่า และมีราคาราว 3 ล้านบาทต่อคัน

รถบัสโรงเรียนสีเหลืองนิยมใช้มากที่สุดในแคนาดาและสหรัฐอเมริกา โดยมีเด็กกว่า 26 ล้านคน ใช้รถโรงเรียนกว่า 5 แสนคัน แต่มีเพียง 3 บริษัทผลิตรายใหญ่เท่านั้นที่ถูกนำมาใช้มากที่สุด คือ Blue Bird, Thomas และ IC เงินรายได้ส่วนหนึ่ง มาจากการสนับสนุนของภาครัฐ ทำให้รถโรงเรียนต้องผ่านกระบวนการและข้อบังคับอย่างจริงจัง และต้องมีการออกแบบพิเศษที่ปลอดภัยสูงกว่ารถโดยสารปกติ


ด้วยน้ำหนัก 19,501-26,000 ปอนด์ ซึ่งทำให้รถพลิกคว่ำได้ยาก นอกจากนี้ รถโรงเรียนทุกคันยังมาพร้อมกับคุณสมบัติป้องกัน และมีการออกแบบตัวถังรถอย่างชาญฉลาด ประกอบด้วยล้อ เพลา และโครงอื่นๆ ที่ใช้รับน้ำหนักของรถ ตามข้อมูลของสำนักงานความปลอดภัยทางการจราจรของรัฐมินนิโซตา ตัวถังรถโรงเรียนแยกจากตัวรถ ซึ่งหมายความว่าตัวถังจะชะลอและกระจายแรงจากการชนแต่ละครั้งไปยังตัวรถทั้งคันแทนที่จะกระจุกตัวอยู่ในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ซึ่งทำให้รถโรงเรียนมีความแข็งแรงมากขึ้น


เพื่อความปลอดภัยของนักเรียนทางรัฐทุ่มทุนจ่ายในการติดตั้งเข็มขัดนิรภัยแบบรัดไหล่กับรถโรงเรียนราคากว่า 7,000-10,000 ดอลลาร์ต่อคัน ถือเป็นการลงทุนที่มีราคาแพง แต่ก็คุ่มค่า เพราะเข็มขัดนิรภัยบนรถโรงเรียนรถบัสโรงเรียนใช้เทคโนโลยีพิเศษที่เรียกว่าระบบแบ่งช่องที่นั่ง ซึ่งเป็นระบบป้องกันผู้โดยสารแบบพาสซีฟเพื่อปกป้องเด็กๆ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เบาะที่นั่งของรถบัสโรงเรียนทำด้วยโครงเหล็กที่ดูดซับพลังงานและพนักพิงเบาะสูง และยึดแน่นกับพื้นรถโรงเรียน นักเรียนได้รับการปกป้องภายในช่องที่นั่งเช่นเดียวกับไข่ที่บรรจุในกล่องกระดาษ หากเกิดเหตุขึ้นเข็มขัดนิรภัยจึงช่วยลดอาการบาดเจ็บหรืออาจช่วยชีวิตเด็กๆให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น


ระบบป้องกัน แบ่งเป็น 3 ด้าน ดังนี้


ด้านการออกแบบ

  • รถมีสีเหลืองสว่างสดใส มองเห็นชัดเจน
  • สีเหลืองตัดกับข้อความสีดำที่เป็นตัวหนังสือแล้วเห็นชัดที่สุด
  • สีเหลืองเป็นสีที่มองเห็นได้ง่ายในทุกสภาพอากาศ
  • มีป้ายเตือนหยุดและไฟกะพริบ ใช้ในการแจ้งให้รถคันอื่นๆ ให้หยุด เมื่อเด็กๆ เดินขึ้นหรือลงรถ

 

ด้านการป้องกันอุบัติเหตุและไฟไหม้

  • มีเบาะนั่งชิดพนักพิงสูง ป้องกันเด็กในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ
  • มีหน้าต่างที่แข็งแรง ทนทานต่อการกระแทกโดยไม่แตกร้าว
  • มี GPS ติดตามผ่านแอปพลิเคชัน และแจ้งเตือนผู้ปกครองเมื่อรถใกล้ถึงจุดรับส่ง
  • มี RFID หรือระบบเก็บข้อมูลเพื่อเช็กเด็กขึ้นลงรถ และมีกล้อง ตรวจตราติดตามพฤติกรรมของนักเรียนและคนขับ
  • ภายในรถใช้วัสดุกันไฟ เพื่อชะลอการแพร่กระจายของไฟ
  • มีระบบดับไฟอัตโนมัติ และระบบป้องกันการลุกไหม้ของถังน้ำมันเชื้อเพลิง
  • ติดตั้งทางออกฉุกเฉินหลายแห่ง เช่น ประตูหลัง ช่องหลังคา และหน้าต่างด้านข้าง

 

ด้านข้อบังคับ

  • มีมาตรฐานความปลอดภัยของยานยนต์ (FMVSS) ที่เฉพาะเจาะจง เช่น การป้องกันการชน มาตรฐานการเบรก และความแข็งแรงของโครงสร้าง
  • มีความเข้มงวดและถูกตรวจสอบบ่อยกว่ารถโดยสารปกติ
  • มีการฝึกอบรมคนขับอย่างละเอียด วิธีการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน การตรวจสอบประวัติอาชญากรรม และต้องมีใบขับขี่เชิงพาณิชย์พิเศษ

 

นอกจากนี้คนขับยังมีบทบาทสำคัญ คือผู้ที่ควบคุมรถบัสต้องมีความเอาใจใส่และมีทักษะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะช่วยขนส่งเด็กๆ จำนวนมากไปโรงเรียนอย่างปลอดภัยในแต่ละวัน ที่ American Student Transportation จึงสนับสนุนคนขับเพื่อทำงานให้ดีขึ้น โดยมีทรัพยากร ดังนี้

 

  • จ่ายค่าจ้างรายสัปดาห์และมีการแข่งขัน
  • การฝึกอบรมที่มีค่าตอบแทน
  • มีทีมจัดส่งที่ตอบสนองความต้องการ
  • ช่วยเหลือในขั้นตอนการขอใบอนุญาต การเรียนรู้วิธีการเป็นคนขับรถบัสไม่ใช่เรื่องง่าย
  • ชุมชนที่อบอุ่นและเป็นมิตร
  • ระบบ GPS บนรถบัสทุกคัน และผลประโยชน์ที่ดี

 

อ้างอิง: American Student TransportationEducation Week, NTSB, Money Disruptor

TAGS:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง