คนกรุงต้องรู้! กฎใหม่จำกัดจำนวนสัตว์เลี้ยง

คนกรุงต้องรู้! กฎใหม่จำกัดจำนวนสัตว์เลี้ยง

186804 พ.ย. 67 16:53   |     ข่าวเวิร์คพอยท์

คนกรุงต้องรู้! กทม.เห็นชอบข้อบัญญัติใหม่ จำกัดจำนวนสัตว์เลี้ยงโดยใช้ขนาดที่พักเป็นเกณฑ์ พร้อมบังคับฝังชิป สุนัข-แมว ทุกตัว

(เรียบเรียงโดย ปิยะธิดา ผ่านจังหาร)

ที่ประชุมสภา กทม. เห็นชอบร่างข้อบัญญัติการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ กำหนดเงื่อนไขควบคุมการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงตามพื้นที่อยู่อาศัย พร้อมบังคับฝังชิป สุนัข-แมว ทุกตัว


โดยเมื่อวันที่ 1 พ.ย.67 ณ ที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร มีมติเห็นชอบร่างข้อบัญญัติ เรื่องการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. … โดย นายนภาพล จีระกุล สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เขตบางกอกน้อย ในฐานะประธานคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร 


ระบุว่า เพื่อกำหนดเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ และเป็นการป้องกันเหตุสร้างความเดือดร้อนรำคาญและอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ กทม. สมควรปรับปรุงข้อบัญญัติกว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น 


การควบคุมการเลี้ยงสุนัขและแมว โดยให้ กทม. เป็นเขตห้ามเลี้ยงสุนัขและแมวเกินจำนวนที่กำหนด เช่น 


พื้นที่อาคารชุดหรือห้องเช่า 20-80 ตร.ม. ขึ้นไป เลี้ยงได้ไม่เกิน 1 ตัว สูง(สุดไม่เกิน 2 ตัว) 

ที่ดินไม่เกิน 20 ตร.ว. เลี้ยงได้ไม่เกิน 2 ตัว 

เนื้อที่ดิน 20-50 ตร.ว. เลี้ยงได้ไม่เกิน 3 ตัว 

เนื้อที่ดิน 50-100 ตร.ว. เลี้ยงได้ไม่เกิน 4 ตัว 

เนื้อที่ดิน 100 ตร.ว.ขึ้นไป เลี้ยงได้ไม่เกิน 6 ตัว



รวมถึง ผู้เลี้ยงสัตว์ต้องจดแจ้งจำนวนสัตว์เลี้ยง ทำเครื่องหมายระบุตัวอย่างถาวรจากสัตวแพทย์ โดยการฝังไมโครชิป ตามมาตรฐานที่ กทม.กำหนด หากฝ่าฝืนจะมีบทลงโทษ พร้อมนำใบรับรองไปแจ้งเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข สำนักอนามัย หรือสำนักงาน เพื่อให้ทราบเจ้าของสัตว์เลี้ยงที่ต้องดูแลรับผิดชอบ


นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดควบคุมพิเศษสำหรับสุนัขที่มีสายพันธุ์ดุร้าย รวมถึงมีประวัติทำร้ายหรือพยายามทำร้ายคน เมื่อออกนอกสถานที่เลี้ยงต้องใช้อุปกรณ์ป้องกัน เช่น ที่ครอบปาก สายจูงที่แข็งแรง และจับสายจูงห่างจากคอสุนัขไม่เกิน 50 ซม.ตลอดเวลา


นายนภาพล กล่าวว่า จะมีการใช้ข้อบังคับให้สุนัขและแมวต้องมีการฝังไมโครชิป เพื่อให้ทราบเจ้าของสัตว์เลี้ยงที่ต้องดูแลรับผิดชอบ เพื่อแก้ปัญหาสัตว์เลี้ยงสร้างความเดือดร้อนรำคาญ ในกรณีที่เลี้ยงเป็นคู่เพื่อผสมพันธุ์สัตว์หรือประกอบธุรกิจ สามารถขออนุญาตเพิ่มเติมได้ตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข โดยที่ประชุมสภา กทม. มีมติเห็นชอบร่างข้อบัญญัติดังกล่าว จะส่งให้ฝ่ายบริหาร กทม.ดำเนินการต่อไป



TAGS:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง