ชลประทานเชียงใหม่ แจงดราม่าปม ประตูฝายชำรุด ยังบริหารจัดการน้ำได้

ชลประทานเชียงใหม่ แจงดราม่าปม ประตูฝายชำรุด ยังบริหารจัดการน้ำได้

46708 ต.ค. 67 20:54   |     ข่าวเวิร์คพอยท์

โครงการชลประทานเชียงใหม่ แจงฝายดอยน้อย ไม่ได้ทำให้น้ำท่วมเมืองเชียงใหม่ แม้บานประตูจะเสีย แต่ยังสามารถบริหารจัดการน้ำ ลงสู่พื้นที่ตอนล่างได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมเร่งหาแนวทางซ่อมแซม

(8 ก.ย. 67) จากกรณี มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีการชำรุดของบานประตูฝายดอยน้อย อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ จนเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ตอนบน


ที่ประตูฝายดอยน้อย อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ นายเกื้อกูล มานะสัมพันธ์สกุล ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ ชี้แจงข้อเท็จจริง ว่า น้ำที่ท่วมอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูนในขณะนี้จะระบายลงมาที่ฝายดอยน้อยก่อนลงไปที่เขื่อนภูมิพล ขณะนี้มีปริมาณน้ำสูงสุดอยู่ที่ 800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยที่ฝายดังกล่าวมีระยะทางห่างจากเชียงใหม่ประมาณ 50 กิโลเมตร เหนือฝายตัวนี้ขึ้นไปจะมีฝายอีกตัวชื่อ ฝายหนองสลีก อยู่ในเขตจังหวัดลำพูน 


ขณะที่ตอนนี้สามารถเปิดประตูได้เต็มที่ที่ 6 เมตร1ประตู ขณะที่อีก5บานประตู สามารถเปิดระบายน้ำได้3 เมตร หรือประมาณ 50% ปัญหาเกิดจากการชำรุดของสลิง ในช่วงพายุยางิ ทำให้สลิงจากที่ต้องอยู่ด้านหน้าของประตู แก้ไขปัญหาเร่งด่วนโดยการ นำสลิงที่ชำรุดไปเกี่ยวด้านหลังของบานประตู เพื่อทำให้ประตูสามารถเปิดระบายน้ำได้ ซึ่งในการระบายน้ำ จากที่สามารถระบายได้สูงสุด ก็ทำให้ระบายได้อยู่ที่ 800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ขณะที่ในช่วงน้ำหลาก ปริมาณน้ำไหลผ่านประตูที่ 900 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้น้ำชนบานประตู ส่งผลให้น้ำยกตัวสูงขึ้นแล้วย้อนไปด้านบน เกิดปรากฏการณ์น้ำเอ่อไปด้านบนประมาณ 4 กิโลเมตร 

ก่อนลงเข้าทางผันน้ำเดิมและไหลกลับเข้าสู่แม่น้ำปิงเช่นเดิม เพราะฉะนั้นในส่วนที่มีน้ำเอ่อขึ้นมาก็จะส่งผลกระทบกับชุมชนที่น้ำไหลผ่าน ผลกระทบประมาณ 40 ครัวเรือน ได้รับผลกระทบประมาณหนึ่งวัน ซึ่งเป็นผลกระทบที่ไม่รุนแรง


ขณะที่สิทธิภาพในการระบายน้ำในช่วงที่ประตูชำรุด ถ้าปริมาณน้ำไม่เกิน 800 ลูกบาศก์เมตร ก็จะไม่เกิดปรากฏการณ์น้ำเอ่อขึ้นด้านบน ขณะที่น้ำที่ไหลมาจากตอนบนในตอนนี้ไม่ถึง 800 ลูกบาศก์เมตร ทำให้ยังสามารถบริหารจัดการได้ ยืนยันว่าไม่มีผลกระทบต่อการระบายน้ำณ ตอนนี้


ขณะที่ในการซ่อมแซมประตูที่ชำรุด เนื่องจากเป็นช่วงที่น้ำหลากลงมา การจะซ่อมบานประตู จึงมีข้อจำกัด ซึ่งหลังจากนี้ถ้าหากน้ำลดลงก็จะเริ่มซ่อมแซมได้ทันที


ชลประทานยังชี้แจงกรณีการทำให้การระบายน้ำด้านเหนือประตูและท้ายประตูมีปริมาณเท่ากันเพื่อทำให้การระบายน้ำเร็วขึ้น ว่า เนื่องจากขณะนี้อยู่ระหว่างกำจัดขยะที่มีการกีดขวางอยู่ที่บานประตูออกก่อน เพราะหากลดปริมาณน้ำให้เท่ากันจะทำให้การตักขยะทำได้ลำบาก แต่เมื่อกำจัดขยะออกหมดแล้ว ไม่มีสิ่งกีดขวางทางน้ำ ก็มีแผนที่จะเปิดการระบายน้ำให้อยู่ในระดับที่เท่ากันได้


TAGS:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง