ประเทศไทยกระอักฝุ่น กทม. 3 เขตขึ้นระดับสีแดง อันตราย

ประเทศไทยกระอักฝุ่น กทม. 3 เขตขึ้นระดับสีแดง อันตราย

48309 ม.ค. 68 09:21   |     ข่าวเวิร์คพอยท์

ค่าฝุ่น PM2.5 ยังพุ่งไม่หยุด กทม.เกินระดับมาตรฐานทุกเขต มี 3 เขตขึ้นระดับสีแดง เป็นอันตรายมีผลกระทบต่อสุขภาพ ต่างจังหวัดอ่วมไม่ต่างกัน

(9 ม.ค. 68) ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในกรุงเทพมหานคร ค่าเฉลี่ย ตรวจวัดได้ 64.2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 47 เขต และระดับสีแดง มีผลกระทบต่อสุขภาพ 3 เขต


5 อันดับ ของค่าฝุ่น PM 2.5 เขตสูงสุดในกรุงเทพมหานคร


  1. เขตหนองแขม 94.2 มคก./ลบ.ม.
  2. เขตบางบอน 76.8 มคก./ลบ.ม.
  3. เขตธนบุรี 75.5 มคก./ลบ.ม.
  4. เขตบางขุนเทียน 74.9 มคก./ลบ.ม.
  5. เขตบางนา 74.5 มคก./ลบ.ม.



สำหรับพื้นที่ปริมณฑล พื้นที่ที่อยู่ในระดับสีแดง ได้แก่ 


  • ต.นครปฐม อ.เมือง จ.นครปฐม 82.7 มคก./ลบ.ม.
  • ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 77.8 มคก./ลบ.ม.
  • ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 76.7 มคก./ลบ.ม.
  • ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน, สมุทรสาคร 82.8 มคก./ลบ.ม.
  • ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 87.8 มคก./ลบ.ม.


ขณะที่สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ทั่วประเทศ ก็มีพื้นที่ที่เริมมีผลกระทบต่อสุขภาพกระจายในหลายพื้นที่เช่นกัน


ภาคเหนือ

ส่วนใหญ่อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ วัดได้ 15.8-80.8 มคก./ลบ.ม. โดย ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก อยู่ในระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพ วัดได้ 80.8 มคก./ลบ.ม.


ภาคกลางและตะวันตก 

ส่วนใหญ่อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ วัดได้ 39.5-92.2 มคก./ลบ.ม. โดยอยู่ในระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพ 3 พื้นที่ ได้แก่


ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี 75.2 มคก./ลบ.ม.

ต.หน้าพระลาน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี วัดได้ 83.5 มคก./ลบ.ม.

ต.คลองกระแชง อ.เมือง จ.เพชรบุรี วัดได้ 92.2 มคก./ลบ.ม.


ภาคตะวันออก

ส่วนใหญ่อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ วัดได้ 20.1-76.4 มคก./ลบ.ม. โดย ต.ปลวกแดง อ.ปลวกแดง จ.ระยอง วัดได้ 76.4 มคก./ลบ.ม. อยู่ในระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพ วัดได้ 76.4 มคก./ลบ.ม.


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ 8 พื้นที่ วัดได้ 28.5-56.9 มคก./ลบ.ม.


ภาคใต้ 

อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ 1 พื้นที่ วัดได้ 16.9-43.2 มคก./ลบ.ม.



TAGS:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง