“ณัฐชา” อัด นายกฯ รู้แต่ไม่แก้ปัญหาปลาหมอคางดำ
“ณัฐชา” อัด นายกฯ รู้แต่ไม่แก้ปัญหาปลาหมอคางดำ

“ณัฐชา” อัด “แพทองธาร” รู้แต่ไม่แก้ปัญหา กมธ.ส่งรายงานไปแต่ไม่ทำ ปล่อย “ปลาหมอคางดำ” ยังระบาดหนัก ชาวบ้าน 19 จังหวัดมาถึงหน้าทำเนียบ ต้องการยื่นหนังสือเรียกร้องให้แก้ปัญหา แต่นายกฯ เลือกไปรับช่อดอกไม้จากนายทุนประมง
(24 มี.ค. 68) นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ สส.พรรคประชาชน อภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี เรื่องการแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำ โดยอภิปรายว่า 194 วันที่ประชาชนต้องทุกข์ทรมาน ไม่มีกิน ไม่มีใช้ ไร้เกียรติ์ไร้ศักดิ์ศรี ไม่เหมือนตามที่นายกรัฐมนตรีหาเสียงไว้ แต่ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีบริหารงานผิดที่ผิดทาง ทำประเทศไทยในนามีสารเคมี ในน้ำมีหายนะครั้งใหญ่ ด้วยการระบาดของปลาหมอคางดำ นับเป็นอาชญากรรมครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่มีประเทศไทย มีพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 520,000 ราย ใน 76 อำเภอ 19 จังหวัด ฟาร์ม 17,915 แห่ง กำลังได้รับผลกระทบโดยตรง เป็นความเสียหาย สูญเสียอาชีพ ทำให้เกษตรกรเพาะสัตว์น้ำไม่มีอาชีพ
“สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์ ตัวเลขความเสียหาย 26,000 ล้านบาทต่อปี รวมกับจำนวนเกษตรกรที่เผชิญ ยังไม่นับการขาดดุลทางการค้า และต่อไปไม่มีปลาสลิด ไม่มีปลาทู มีแต่ปลาจากต่างประเทศ และปลาในห้างสรรพสินค้า ถ้าปล่อยไว้แบบนี้ มันคือหายนะที่ผมยอมรับไม่ได้ จะปล่อยให้แม่น้ำทุกสายมีแต่ปลาหมอคางน้ำ จะให้เกษตรกรเปิดน้ำ แหล่งน้ำธรรมชาติมีปลาหมอคางน้ำทั้งนั้น ปลาหมอคางดำหลุดไป 5-6 ตัว หมดไป 5-6 แสน ความเงียบของรัฐบาล ปล่อยให้ประชาชนสู้วิกฤตเพียงลำพัง”
นายณัฐชา อภิปรายต่อว่า เรื่องนี้ผ่านมาแล้ว 2นายกรัฐมนตรีที่รู้ดีว่า มีการทำเป็นวาระแห่งชาติ ออกงบประมาณ 450 ล้านบาท ได้แต่ออกข่าวแต่สุดท้ายให้กรมประมงไปหางบประมาณเอง นำมาแก้ไขปัญหา เป็นตัวเลขหลอกชาวบ้าน ล่าสุดจะอนุมัติอีก 98 ล้านบาทเปรียบเสมือนซื้อยาพารารักษาโรคมะเร็ง วันนี้ 98 ล้านบาทแก้ปัญหาไม่ได้ ถ้าติดกระดุมไม่ตรงจุด คนที่ต้องรับผิดชอบต้องดำเนินการรับผิดชอบต่อกฎหมายสิ่งแวดล้อม
ส่วนมาตรการที่ผ่านมา จับปลาหมอคางดำจากแหล่งน้ำ สุดท้ายกลายภาพพีอาร์ของบริษัทเอกชน ส่วนปล่อยปลานักล่ามันถูกปลาหมอคางน้ำกินหมดแล้ว การนำปลาหมอคางดำไปทำประโยชน์แต่มันไม่ทันอันตราการเกิดของปลาหมอคางดำ ส่วนมาตรการเฝ้าระวังแพร่ระบาด แต่เกษตรกรต้องรับกรรม สร้างความตระหนักรู้ ตอนนี้ชาวบ้านรู้มากกว่าคนออกมาตรการ สถานการณ์ที่หนักที่สุดคือคนออกมาตรการที่ไม่รู้อะไรเลย
“ความจริงแล้ว เหตุการณ์ ต้องเริ่มจากความกล้าหาญของรัฐบาลต้องเริ่มจากการหาตัวผู้กระทำความผิดเป็นอันดับแรก และนำเงินทั้งหมดมาชดเชยเยียวยาให้กับเกษตรกรและนำมาแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ แต่ท่านไม่ได้ตั้งใจแก้ปัญหานี้ มีรายงานของคณะกรรมาธิการฯนำเสนอในสภาไปแล้ว รายงานฉบับนี้ผ่านการอภิปรายของสส.ฝ่ายค้านและรัฐบาล มีเสียงสนับสนุนผ่านรายงานให้รัฐบาลแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง แต่นายกรัฐมนตรีเขาไม่ได้เอารายงานฉบับนี้ไปบรรจุในวาระการประชุมของคณะรัฐมนตรีด้วย เพราะรายงานเขียนไว้ทั้งหมดว่าพบหลักฐานสำคัญในการขอนำเข้าปลาหมอคางดำเข้ามาในราชอาณาจักรจากนายทุนรายเดียว นี่คือหลักฐานที่ขออนุญาตการนำเข้าที่ชัดเจน หน่วยงานภาครัฐเป็นคนอนุญาต แต่สุดท้ายรายงานฉบับนี้เหายเข้ากลีบเมฆ”
นายณัฐชา ระบุว่า วันที่ 18 ตุลาคม 2549 บริษัทเอกชนได้ขออนุญาตินำเข้าปลาหมอคางดำ ในเดือนเดียวกัน กรมประมงได้อนุญาต แต่ต้องมีเงื่อนไข ต่อมาปี 2551 บริษัทเอกชนได้มีหนังสืออีกครั้ง กรมประมงตอบกลับมาอนุญาต แต่การขอหนังสือทั้ง 2 ครั้งนำเข้าไม่ได้ เพราะบริษัทขายพันธุ์สัตว์น้ำยังไม่พร้อม ต่อมาปี 2553 มีการขออนุญาติจากเอกชนรายเดียว กรมประมงก็ตอบกลับเช่นเดิม นำเข้าได้แต่มีเงื่อนไข ว่าต้องตัดอย่างครีบปลาเพื่อระบุดีเอ็นเอ ต้องทำรายงานให้กรมประมงถ้ายุติและทำลายสัตว์น้ำ
หลังจากนั้นปี 2553 มีการซื้อพันธุ์สัตว์น้ำนี้จากประเทศกาน่า 2,000 ตัว ได้นำเข้าทางสนามบินสุวรรณาภูมิในปี 2554 กรมประมงได้รับรายงานว่า ปลาหมอคางดำตายทันที 1400 ตัว เหลือ600 ตัวไปที่งานวิจัย ซึ่งมีข้อสงสัยว่ามีการทำตามเงื่อนไขหรือไม่ แต่พบว่าบริษัทเอกชนไม่ได้ทำตามเงื่อนไขแต่กลับนำปลาหมอคางดำเข้ามา แล้วระบุว่า ปลา 600 ตัวเข้าศูนย์วิจัย แต่มางานวิจัยได้ยุบไป มีการชี้แจงว่าปลาหมอคางดำตายไปอีก 400 ตัวในปีต้นปี 2554 และตายกลางปี2554 เกือบ100 กว่าตัว และปลายปีอีก 50 ตัว และการยุติโครงการได้แจ้งกรมประมงผ่านการโทรศัพท์ มันผิดวิสัยบริษัทใหญ่ ขณะที่อธิบดีกรมประมงยืนยันว่าไม่เคยมีบันทึกในหนังสือตอบรับทั้งตัวอย่าง หนังสือการส่งตัวอย่าง
“นี่มาตรฐานชัดเจน เคยนำเข้าครั้งที่ 1 ,2 และ 3 มีหนังสือตอบกลับ พอยุติโครงการบอกว่าโทรแจ้ง มันผิดวิสัยบริษัทยักษ์ใหญ่ คุณภาพสูง โทรแจ้งเรียบร้อยแล้ว แต่อธิบดีบอกในชั้นกรรมาธิการบอกว่า มีบันทึกในหนังสือตรวจรับ และอธิบดียอมรับว่าไม่เคยได้รับตัวอย่าง 2 โหล และรายงาน ไม่เคยได้รับ ส่วนที่โทรไปยังหาไม่เจอว่าโทรหาใคร วันนี้ยัง miss call อยู่หรือไม่ แต่สิ่งที่ตามมา คือ เขาโทรบอกเสร็จว่าทำลายทิ้งหมดแล้ว โดยการเอาไปฝังกลบแล้วโรยปูนขาว กลัวไม่ตายเลยสร้างตึกทับ พอกรรมาธิการจะไปดูก็ไม่รู้ว่าฝังตรงไหน ดูไม่ได้ กลัวว่าจะแพร่รบาดไปไกล ฝังเสร็จสร้างตึกทับเลย มันน่าสงสัย รายงานต่อสภาไปแล้ว หน่วยงานรัฐรู้ แต่ไม่ทำอะไรเลย สุดท้าย ปลาหมอคางดำเจอในครั้งแรกตอนที่นายกรัฐมนตรีชื่อ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เจอสายพันธุ์ในแหล่งน้ำครั้งแรกของประเทศไทย”
นายณัฐชา อภิปรายต่อว่า ต่อมามีการตรวจดีเอ็นเอปลาหมอคางดำซึ่งผลตรงกันทุกจังหวัด เหมือนมาจากพ่อแม่เดียวกัน วันที่ 6-7 ก.พ. 68 ได้หยิบเป็นวาระแห่งชาติ 15 ก.พ.68 ตั้งคณะกรรมการระดับกระทรวงเพื่อหาความจริง แต่สิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อมีคณะกรรมการระดับกระทรวง ค้นคว้าจากหน่วยงาน ได้รับรายงานกสม. ตรวจสอบพบว่า กสม.เคยไปตรวจศูนย์วิจัยนี้ พบปลาหมอคางดำในบ่อพักน้ำอาร์ 2 ของศูนย์วิจัย ซึ่งเจอประมาณ 10 กว่าตัว มีบันทึกชัดเจนว่าสุ่มตรวจเจอ แต่ไม่มีรายงานต่อว่าเอาไปทำอะไรต่อ
ต่อมาคณะกรรมการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ จะหาความจริงใน 7 วัน จากวันนั้นถึงวันนี้ คณะกรรมการยังนับไม่ถึง 7 วัน ทำให้เกษตรกรรวมตัวกันมายื่นหนังสือ โดยตนได้ตั้งกระทู้ถามสด แต่น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไม่มาตอบคำถาม หลังจากนั้น ประชาชน 19 จังหวัดได้รวมตัวประท้วงยื่นหนังสือให้นายกรัฐมนตรีแต่ส่งใครไปรับหนังสือไม่รู้ และล่าสุด 18 มีนาคม 68 ประชาชนได้รวมตัวทวงถาม และยื่นข้อเสนอ 4 ข้อ ให้นายกรัฐมนตรี
“กระดาน 4 แผ่น ชาวบ้านเขาฝากผมมาบอกให้เอามาส่งนายกรัฐมนตรีหน่อย มีข้อ ตั้งกรรมการอิสระ กำจัดปลาหมอคางดำใน 1 ปี ประกาศเขตภัยพิบัติ และให้หน่วยงานรัฐเอาผิดผู้กระทำผิด แค่นี้ ไม่ออกไปรับหนังสือ ลำบากมาก ไม่ว่าง เอาเวลาไปรับช่อดอกไม้ ผมว่านำหนักช่อดอกไม้และฟิวเจอร์บอร์ด 4 แผ่น ไม่ต่างกัน”
นายณัฐชา ระบุว่า รัฐบาลปล่อยเสียงกระซิบนายทุนดัง แต่เสียงกระซิกของเกษตรกรชาวไทยไม่ได้ยิน พร้อมแสดงภาพถ่าย แสดงความชัดเจนสนิทสนมกัน 2 ตระกูล แสดงความสนิทชิดเชื้อตั้งแต่ผู้บริหารตลอดจนผู้อำนวยการ ทำให้มีความสงสัยว่าปัญหานี้จะได้รับการแก้ไขได้กี่โมง เพราะสิ่งทีเกิดขึ้นเป็นงานประชาสัมพันธ์ของเอกชน ตลอดจนอธิบดีกรมประมงให้สัมภาษณ์ว่าไม่สามารถหาตัวการมารับผิดได้เพราเรื่องเกิดมา 14 ปีแล้ว ไม่ใช่เพราะกรมประมงหล่อยปละละเลยหรือไม่
เรื่องนี้นายกรัฐมนตรีสามารถสั่งการได้ เรื่องนี้มีความเป็นเป็นความตายของประชาชน พบปลาหมอคางดำปี 2554 ระบาดหนักสุดในปี 2558 ให้ดูช่วงเวลาเป็นตระกูลชินวัตร ซึ่งมีความสัมพันธ์แนบแน่นมีส่วนรู้เห็นการนำเข้ากับบริษัทผู้ต้องสงสัยกับการนำเข้าอาวุธร้ายทำลายสูงแหล่งน้ำธรรมชาติ ปลาหมอคางดำ