“เอกนัฏ” เผยถูกตั้งค่าหัว 2-300 ล้าน เหตุเพราะลุยงานจริง

“เอกนัฏ” เผยถูกตั้งค่าหัว 2-300 ล้าน เหตุเพราะลุยงานจริง

74823 ม.ค. 68 15:27   |     ข่าวเวิร์คพอยท์

“เอกนัฏ” เผยกลางสภา มีคนต้องการให้เปลี่ยนตัว รมว.อุตสาหกรรม ตั้งค่าหัวไว้ 200-300 ล้านบาท เหตุเพราะทำงานจริง ไม่ได้อยู่แค่ในห้องแอร์ - ยืนยันเอาจริงโรงงานน้ำตาลรับอ้อยไฟไหม้ 1 ในปัจจัยเกิด PM 2.5

(23 ม.ค. 68) ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันนี้ นายธีระชัย แสนแก้ว สส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย ตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาวไร้อ้อย จากกรณีโรงงานน้ำตาลไทยอุดรธานีถูกอุตสาหกรรมจังหวัดสั่งปิดกระทันหัน ทำให้มีอ้อยสดและอ้อยไฟไหม้ที่ชาวไร่อ้อยตัดมาเตรียมส่งขายให้ทางโรงงานต้องติดค้าง สร้างความเสียหายจำนวนมหาศาล เพราะปกติอ้อยจะเข้าหีบไม่ต่ำกว่าวันละ 3 หมื่นตัน คิดเป็นรายได้ประมาณ 50 กว่าล้านบาทต่อวัน


การปิดโรงงานดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ ตนจึงอยากทราบว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สั่งด้วยวาจา หรือสั่งปลัดกระทรวง แล้วปลัดสั่งอีกที ทำให้ข้าราชการชั้นผู้น้อยออกคำสั่งตามอำเภอใจ ลุแก่อำนาจ เป็นการเลือกปฏิบัติหน้าที่ไม่


นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ชี้แจงว่า การปิดโรงงานไทยอุดรฯ เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจสำคัญของรัฐบาลที่จะช่วยกันลดฝุ่น pm2.5 ซึ่งเป็นปัญหาหลักระดับประเทศ ในส่วนของอ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดเดียวที่อยู่ในกำกับของกระทรวงอุตสาหกรรม ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) อ้อยและน้ำตาลทราย


ทางกระทรวงฯ ตั้งเกณฑ์ลดสัดส่วนอ้อยไฟไหม้ให้อยู่ที่ 25% แต่วานนี้(22 ม.ค.) ตัวเลขออกมาสัดส่วนอยู่ที่ 11% เท่านั้น เพราะเกิดจากการที่เราช่วยกัน จากที่ผ่านมา 5-6 ปีที่แล้วเผาอ้อยกัน 50-60% และปีที่แล้วเหลือ 30% พวกเราทั้งโรงงานน้ำตาล และเกษตรกรจะได้พูดอย่างภูมิใจว่า ปัญหาฝุ่นpm2.5 ไม่ได้เกิดมาจากการเผาอ้อย อย่างไรก็ตาม บางทีการตัดสินใจไม่ได้ตัดสินใจได้ง่ายแต่เราต้องช่วยกันและการที่จะแก้ปัญหาบางทีก็มีต้นทุนที่ต้องจ่าย


เรื่องการขอความร่วมมือให้โรงงานลดสัดส่วนอ้อยไฟไหม้ลงให้เหลือไม่เกิน 25% ยืนยันว่าไม่ได้ใช้ความเข้มงวดการบังคับใช้กฎหมายอย่างเดียว แต่เรากำลังออกแบบระบบใหม่ที่ใช้มูลค่าทางการเกษตรเป็นแรงจูงใจ ส่งเสริมให้เกษตกรไปตัดใบอ้อย ส่งโรงงาน เพื่อผลิตไฟฟ้าขาย ถ้าระบบนี้ออกมาสมบูรณ์แบบ ตนมั่นใจว่าจากนี้ไปจะไม่มีใครเผาใบอ้อย ถ้าใครมาลักลอบเผา หรือเกิดเหตุขึ้นก็ต้องช่วยกันไม่ให้เผา เพราะใบอ้อยมีมูลค่ และไม่ต้องเสียเงินชดเชยเกือบหมื่นล้านบาทไปชดเชยอ้อยลดตันละ 120 บาท ซึ่งการช่วยเหลือทั้งอ้อนสดและตัวใบ ตนได้เสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)ไปตั้งแต่ พ.ย.67 แล้ว แต่ครม.ยังไม่มีมติ


ในตอนหนึ่งของการตอบกระทู้ นายเอกนัฏกล่าวว่า “ผมยืนยันว่าไม่มีการเลือกปฏิบัติแน่นอน และตั้งแต่ผมทำหน้าที่รมว.อุตสาหกรรม ไม่ใช่นั่งเฉยๆในห้องแอร์ แต่ได้ลงพื้นที่ตรวจจับและจัดระบบใหม่ในภาคอุตสาหกรรม ปัญหากากอุตสาหกรรม สินค้าด้อยคุณภาพนำเข้าประเทศ ผมสั่งปิดและจับ ดำเนินคดีเด็ดขาด ทั้งนี้มีวางค่าตัวไว้ว่า มีเงิน 200-300 ล้านบาท เพื่อย้ายรัฐมนตรี ผมไม่กลัวเพราะผมมีหน้าที่ที่ต้องการรักษาประโยชน์ของส่วนรวม”


นายเอกนัฏกล่าวอีกว่า กล่าวต่อว่า ในส่วนของรงงานน้ำตาลไทยอุดรธานี ตั้งแต่เราได้ออกคำสั่งไป และมีการพูดคุย ตนต้องพูดตรงไปตรงมาว่าโรงงานให้ความร่วมมือดี ปัจจุบันรับอ้อยสด 100 เปอร์เซนต์ด้วยซ้ำ แต่ก่อนวันที่อุตสาหกรรมจังหวัด เข้าไปตรวจโรงงาน ก็ต้องพูดตรงไปตรงมาว่าโรงงานไทยอุดรฯ รับอ้อยเผาปริมาณสูงสุดดของประเทศประมาณ 4 แสนตัน 40 กว่าเปอร์เซนต์ ส่วนโรงงานอื่นๆก็มีการรับอ้อยเผาก่อน 25 เปอร์เซนต์ จากที่เราสื่อสารไปก็มีการกดตัวเลขต่อวันลดลงหมด และการที่อุตสาหกรรมจังหวัด สั่งปิดโรงงานเพื่อลดการปล่อย pm 2.5 เจตนาไม่ให้กระทบกับชีวิตหรือรายได้ของเกษตรกร


นายเอกนัฏ กล่าวต่อว่า สำหรับมาตรการในปีนี้ชัดเจนตั้งแต่ ต.ค.67ได้แจ้งในการประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ขอความร่วมมือโรงงานและเกษตรกรงดการเผาไม่เกินวันละ 25% และให้โรงงานรับซื้ออ้อยเผาเกิน 25% ทั้งนี้มีมติ ครม.​ที่ส่งมาถึงตน ขอให้กระทรวงเพิ่มมาตรการงดรับอ้อยเผาโดยสิ้นเชิง ซึ่งปัญหาการไม่รับซื้ออ้อยเผาที่จ.อุดรธานี ตนได้ช่วยแก้ปัญหาและทราบว่ามีการเคลียร์อ้อยที่ค้างการรับซื้อทั้งหมดแล้ว ส่วนที่พบว่ามีอ้อยเน่านั้นจะมีมาตรการเยียวยาต่อไป



TAGS:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Thailand Web Stat