จากปลาหมอคางดำไร้ค่าสู่“เคยปลา”เมนูในตำนานชาวปักษ์ใต้สร้างรายได้ กก.ละ 150 บาท

จากปลาหมอคางดำไร้ค่าสู่“เคยปลา”เมนูในตำนานชาวปักษ์ใต้สร้างรายได้ กก.ละ 150 บาท

86216 ก.ค. 67 16:32   |     ข่าวเวิร์คพอยท์

ชาวบ้านปรับตัวสร้างรายได้ปลาหมอคางดำจากราคาถูกมาก สร้างคุณค่าใหม่สู่“เคยปลา”วัตถุดิบแกงเคยปลา เมนูเด็ดของชาวปักษ์ใต้ สร้างรายได้เป็นที่น่าพอใจสูงถึงกิโลกรัมละ 150 บาท

(16 ก.ค.67) “เคยปลา”เป็นทางเลือกหนึ่งในการสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน “เคยปลา”คือวัตถุดิบสำหรับการปรุงอาหารเมนูประจำถิ่นนครศรีธรรมราชที่ชื่อว่า “แกงเคยปลา”แต่เดิมนั้นได้จากการแปรรูปปลาน้ำจืด ปลาน้ำกร่อยหลากหลายชนิด แต่ด้วยที่ปลาหมอคางดำมีมากได้มีการประยุกต์นำเนื้อปลาหมอคางดำมาสู่การทำเคยปลา ได้เนื้อเคยปลาออกมามีสีขาวนวลสะอาด เมื่อเปิดไหออกมาและเมื่อมีการนำไปแกงด้วยเครื่องแกงแบบปักษ์ใต้ ถิ่นนครศรีธรรมราช มีรสชาตเข้มข้นไม่แพ้ปลาชนิดอื่นๆ


ครอบครัวของป้าจิตร หรือ สมจิตร ดีชู มีจุดรวบรวมปลาหมอคางดำที่บริเวณริมอ่างบำบัดน้ำเค็มของการชลประทานน้ำเค็ม บ้านหน้าโกฏิ นอกจากส่งขายให้กับแพปลาสำหรับทำปลาเหยื่อในราคา 20 บาท และมีการมารับซื้อเพื่อนำไปแปรรูปในหลายพื้นที่ ป้าจิตรยังได้นำมาทดลองแปรรูปเป็นเคยปลาตามกรรมวิธีที่สืบทอดกันมาหลายชั่วคน โดยกว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการเป็น “เคยปลา”ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือน


ป้าสมจิตร บอกรรมวิธีว่าเริ่มตั้งแต่นำปลาที่ได้มาล้างให้สะอาดแล้วขอกเกล็ดแล่เอาเฉพาะเนื้อ จากนั้นนำไปหมักเกลือ หลังจากนั้นต้องนำไปตากแดดจนเริ่มหมาดจากนั้นจึงนำมาตำให้เป็นเนื้อเดียวกันภาษาถิ่นจะเรียกว่าการ “เช” หลังจากนั้นจะนำไปตากแดดอีกรอบจนได้ที่ แล้วจึงนำมายัดใส่ไหใส่เกลือวิธีนี้เรียกว่า “ขัดน้ำ” ทิ้งไว้เป็นเวลา 3 เดือนเป็นอย่างน้อย หลังจากครบเวลาสามารถนำมาจำหน่ายได้ในราคากิโลกรัมละ 150 บาท ปัจจุบันที่ทำอยู่นั้นไม่พอจำหน่าย แต่ละรอบทำได้ประมาณ 300 กิโลกกรัม สร้างรายได้ให้ไม่น้อย


ส่วนการถนอมอาหารแบบชาวปักษ์ใต้ ยังสามารถนำปลาหมอคางดำมาประยุกต์ได้ดีและรสชาติอร่อยไม่แพ้ปลาอื่นๆเช่น ปลาเปรี้ยว ปลาส้ม พุงปลา ส่วนที่ทำได้ง่ายสุดคือปลาแดดเดียว จะทำให้รสชาติมีความหลากหลายมากกว่าปลาสดไปอีกมาก เป็นโอกาสของชาวบ้านที่ได้จากการแปรรูปหมอคางดำแม้จะเกิดวิกฤติการณ์ปลาหมอคางดำระบาดในพื้นอำเภอหัวไทร อำเภอปากพนัง และปัจจุบันมีการแจ้งเตือนการพบปลาชนิดเพิ่มในอีก 2 อำเภอคืออำเภอเชียรใหญ่ และอำเภอท่าศาลา ยังไม่สามารถหาททางจัดการให้ออกจากระบบนิเวศน์ได้.

TAGS:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง