ครม.เคาะลดค่าไฟพื้นที่ประสบภัย ส่วนค่าแรง 400 ผลักดันในปีนี้

ครม.เคาะลดค่าไฟพื้นที่ประสบภัย ส่วนค่าแรง 400 ผลักดันในปีนี้

39724 ก.ย. 67 14:09   |     ข่าวเวิร์คพอยท์

ที่ประชุม ครม. เคาะลดค่าไฟพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมเพื่อช่วยเหลือประชาชน - นายกฯ แจงค่าแรง 400 ตั้งใจให้ได้ในปีนี้ แต่ต้องคุย “ไตรภาคี” ก่อน

(24 ก.ย. 67) น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงชี้แจงหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล ว่า ผลการประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าให้กับผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเดือนกันยายนไม่เรียกเก็บค่าไฟฟ้า ส่วนเดือนตุลาคมลด 30% โดยคำนวนส่วนลดก่อนภาษีมูลค่าเพิ่ม


และอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ พักชำระหนี้ลูกหนี้รายย่อยในระยะที่ 2 และระยะ 3 รวมฟื้นฟูลูกหนี้ ธกส. เพื่อให้เกษตรกรที่เข้าร่วมได้รับมาตรการช่วยเหลือจากรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมาตรการระยะที่ 2 เริ่มวันที่1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน2568 และระยะที่ 3 เริ่มตั้งแต่วันที่  1ต.ค  2568 - 30 ก.ย. 2569


จากที่ได้รับฟังข้อ้สนอแนะจากกลุ่มอาสาสมัครกู้ภัยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากได้สั่งการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และคณะกรรมการอำนวยการและบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (คอส.) ทำการศึกษาความเป็นไปได้ใช้แอพพลิเคชั่น “ทางรัฐ” ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่นเหตุการณ์อุทกภัยนี้ ให้อาสาสมัครและกู้ภัยแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และรายงานเหตุการณ์ฉุกเฉิน หลังมีเสียงสะท้อนว่าการรายงานตัวของอาสาสมัครกู้ภัยซ้ำซ้อน


และจะใช้แอพพลิเคชั่นนี้ในการจ่ายเงินเยียวยา ประสานงานกับเจ้ากน้าที่เพื่อให้เกิดการบูรณาการทั้งภาครัฐและประชาชน เร่งรัดให้ปภ.ใข้ cell broadcast เตือนภัยให้ได้อย่างประสิทธิภาพ 


นายกรัฐมนตรี ย้ำว่า อยากให้ประชาชนทุกคน โหลดแอพ “ทางรัฐ” เพราะจะเป็นส่วนกลางให้ประชาชนเข้ามาอัพเดทข้อมูล และยังใช้ประสานงานช่วยเหลือในเกตุการณ์ฉุกเฉินได้  


ส่วนค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทยังเป็นนโยบายของรัฐบาล มีความชัดเจนที่จะขึ้นค่าแรง แต่ต้องอาศัยการพูดคุยกับคณะกรรมการไตรภาคีว่าจะให้ความเห็นอย่างไร ซึ่งตนพยามยามนัดหมาย เร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด และยืนยันว่า รัฐบาลนี้จะต้องให้ค่าแรงขึ้น 400 บาท จะคอยผลักดันเรื่องนี้ ส่วนว่าเป็นการเตะถ่วงให้ผู้ประกอบการหรือไม่ นายกรัฐมนตรีว่า ต้องรอการพูดคุยก่อน ไม่ได้เตะถ่วง ต้องไปดูข้อกฎหมาย ส่วนจะได้เดือนไหนนั้น นายกรัฐมนตรีบอกว่า อยากให้ได้ในเร็วที่สุด ความตั้งใจต้องได้ในปีนี้


ส่วนปัญหาค่าเงินบาทแข็ง น.ส.แพทองธาร นายกรัฐมนตรีระบุว่า ยอมรับว่ามีความกังวลในทุกภาคส่วน แต่รัฐบาลทำได้หลายอย่าง เช่นการส่งออกถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ต้องรักษาข้อดีไว้ให้ได้ แต่ต้องมีการพูดคุยกัน ส่วนที่จะต้องหารือกับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยหรือไม่เป็นหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง



TAGS:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง