นักวิชาการวิพากษ์คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ: ผลกระทบต่อประชาธิปไตยไทย

นักวิชาการวิพากษ์คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ: ผลกระทบต่อประชาธิปไตยไทย

40625 ส.ค. 67 21:20   |     เกเก้ เก่งทุกงาน

นักวิชาการ ชี้ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ "ยุบพรรคก้าวไกล" และ "ยุติหน้าที่นายกรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน คือสินามิกวาดล้างหลักการประชาธิปไตย แนะควรลดอำนาจศาล คณะตุลาการต้องมาจากการโหวตในสภาผู้แทนราษฎร

ในงาน เสวนาวิชาการเรื่อง "เมื่อศาล รัฐธรรมนูญ ปกครองบ้านเมือง" ที่คณะ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดขึ้น มีนักวิชาการด้านนิติศาสตร์ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองต่อศาลรัฐธรรมนูญที่มีคำวินิจฉัยในการยุบพรรคก้าวไกล และมีคำสั่งให้นายเศรษฐา ทวีสิน ยุติปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี 

.

รศ.สมชาย ปรีชาชาศิลปกุล รองศาสตราจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเสมือนเป็นสึนามิที่กวางล้างหลักวิชาการทําให้ประชาชนเป็นผู้ประสบภัย ซึ่งที่ผ่านมาได้สร้างปัญหาให้กับการเมืองไทยมานานเวลากว่า 10 ปี จนนักวิชาการ ต่างชาติเรียกปรากฏการณ์นี้ว่าเป็น "ตุลาการธิปไตย" แนวคิดตุลาการภิวัฒน์แท้จริงคือ เข้ามามีบทบาทและแก้ไขปัญหาทางการเมือง แต่ปัจจุบันศาล รัฐธรรมนูญกลับเป็นส่วนขยายของปัญหา

.

บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญในรอบ 20 ปีที่ผ่านมาส่งผลกระทบรุนแรงไม่น้อยกว่าการรัฐประหาร ทั้งการยุบพรรคการเมืองขนาดใหญ่ ตั้งแต่ไทยรักไทย, พลังประชาชน, อนาคตใหม่ และก้าวไกล ซึ่งพรรคที่ถูกยุบ เป็นพรรคที่ได้รับความนิยม และยืนอยู่ตรงข้ามกับชนชั้นนำ และการปลด 4 นายกรัฐมนตรีสะท้อนตุลาการธิปไตย ใช้อํานาจตุลาการอยู่เหนืออํานาจนิติบัญญัติและบริหาร .

จึงมีข้อเสนอ ควรลดอํานาจตุลาการในการตัดสินประเด็นทางการเมือง ให้การเมืองหรือประชาชนเป็นผู้ตัดสิน และให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเฉพาะประเด็นทางกฎหมาย หรือ ประเด็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ต้องลดอํานาจผู้พิพากษาอาชีพ และระบบราชการ หยุดให้ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นส่วนขยายของระบบข้าราชการชั้นสูง และเพิ่มอํานาจประชาชนสามารถกํากับ ตรวจสอบศาลรัฐธรรมนูญได้  

.

ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ศาสตราจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความเห็นว่า บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญปัจจุบันไม่ได้เป็นการพิทักษ์สิทธิประชาชน อีกทั้งที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก็มาจากสมาชิกวุฒิสภาชุดที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.เป็นผู้สรรหา ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจมาก  

.

การตีความรัฐธรรมนูญให้อำนาจศาลเหนืออํานาจบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ รวมถึงกระบวนการวินิจฉัย ไม่มีการถ่วงดุลอำนาจศาลรัฐธรรมนญ กรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติยุบพรรคก้าวไกลว่า เป็นการกระทบต่อสิทธิประชาชนจํานวนมาก และแสดงถึงกระบวนการไต่สวนของศาลรัฐธรรมนูญมีปัญหา เพราะมีอํานาจสั่งยุติการไต่สวนได้ ทั้งที่ควรเปิดโอกาสให้คู่ความโต้แยังกันได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นควรเปลี่ยนศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นศาลมีความเชี่ยวชาญเฉพาะ พร้อมเสนอให้หลังจากนี้ การสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ต้องอิสระ เป็นธรรม ปราศจากอคติ  

.

รศ.ดร.ณรงค์เดช สรุโฆษิต รองศาสตราจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ให้เห็นว่า การยุบพรรคโดยไม่ยึดคุณค่าประชาธิปไตยนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้น เว้นแต่จะมีการกระทำที่มาจากทัศนคติที่จะทำลายล้างระบอบประชาธิปไตยที่เป็นอยู่อย่างชัดเจน

.

เช่นพรรคนาซีใหม่มีอุดมการณ์นาซี ปฏิเสธรัฐธรรมนูญ แต่ศาลรัฐธรรมนูญเยอรมันได้พิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น และพรรคนาซีใหม่ยังห่างไกลที่จะเกิดขึ้นได้ มีแต่ใช้กําลัง สร้างบรรยากาศแห่งความกลัว หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กําลัง จึงมีคำสั่งให้ยุบพรรค รวมถึงขณะนั้นเยอรมนีมีการแก้รัฐธรรมนูญ การยุบพรรคในยุโรป จะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีการยั่วยุ เลือกปฏิบัติจากการเลือกนับถือศาสนา และการนําหลักศาสนามาใช้ จนเกิดความรุนแรง ความเกลียดชัง หรือขู่เข็ญให้เกิดการนองเลือด ปฏิบัติการก่อการร้ายเพื่อให้ได้มาซึ่งอํานาจ และรักษาไว้ซึ่งอํานาจ เป็นต้น 

.

รศ.ดร.ต่อพงศ์ กิตติยานพงศ์ รองศาสตราจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความเห็นว่า บทบาทศาลรัฐธรรมนูญไทยในปัจจุบันพัฒนาตนเองเป็นคู่ขัดแย้งทางการเมือง ไม่ได้เป็นคนกลางชี้ขาดข้อพิพาทในฐานะคนกลาง ไม่สามารถสร้างพลังแห่งเหตุผลผ่านคําวินิจฉัยได้ การใช้อํานาจปกป้องตนเองของรัฐธรรมนูญด้วยการยุบพรรคการเมืองเป็นอํานาจเผด็จการ เพราะสังคมประชาธิปไตยไม่ควรอ้างหลักการประชาธิปไตยเพื่อนำมาห้ำหั่นทางการเมืองกับคู่ตรงข้าม ถือเป็นการใช้อํานาจเผด็จการ 

.

พร้อมมีข้อสังเกตว่า คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญจะนำไปสู่การตีความ ขยายความ และส่งผลกระทบต่อระบบกฎหมายอย่างรุนแรง มีผลผูกพันทุกองค์กร

.

ผศ.สุทธิชัย งานชื่นสวรรณ ผู้ช่วยศาตราจารย์คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แสดงความเห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญยังควรมี แต่ควรคืนอํานาจทางการเมือง อำนาจการยุบพรรคการเมือง และการวินิจฉัยจริยธรรมนักการเมืองให้สภาฯเป็นผู้พิจารณา ให้เหลือเพียงอํานาจการวินิจฉัยไม่ให้กฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญ และรับเรื่องราวร้องทุกข์ 

.

ส่วนที่มาของตุลาการฯ จะต้องสะท้อนความรู้ความสามารถในกฎหมายรัฐธรรมนูญ และอาจจะต้องใช้เสียงข้างมากพิเศษในการลงมติเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งควรให้สภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงมติให้ความเห็นชอบ เพื่อให้ได้การยอมรับจากฝ่ายค้านด้วย  

.

รศ.ดร.มุนินทร์ พงศาปาน รองศาสตราจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุว่า จากมติ 2 คดี ระบบศาลรัฐธรรมนูญเป็นภัยที่ร้ายแรงที่สุดต่อรัฐธรรมนูญ และระบบนิติรัฐ เพื่อให้มีระบบรัฐสภา และเจตจํานงของประชาชนที่เข้มแข็ง จนกว่าประเทศไทยจะมีระบอบการเมืองที่เข้มแข็งเหมือนเยอรมนี แต่ปัจจุบันขอบเขตอํานาจของศาลรัฐธรรมนูญ กลายเป็นเครื่องมือทางการเมือง ซึ่งมีกระบวนการพิจารณาคดีไม่ชัดเจน และคําวินิจฉัยของตุลาการไม่สามารถนำไปต่อสู้ในศาลอื่นได้ หากจําเป็นจะต้องมีศาลรัฐธรรมนูญ ควรต้องปรับขอบเขตอํานาจให้จํากัดที่สุด และไม่ควรมีช่องให้เกิดการร้องทุกข์ของประชาชน เหลือเพียงอำนาจการวินิจฉัยกฎหมาย ในเงื่อนไขที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยฯ และนิติรัฐเท่านั้น

.

จะเห็นได้ว่านักวิชาการหลายท่านได้เสนอแนวทางแก้ไข อาทิ การลดอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ การปรับเปลี่ยนกระบวนการสรรหาตุลาการให้มีความเป็นอิสระและเป็นธรรมมากขึ้น รวมถึงการให้สภาผู้แทนราษฎรมีส่วนร่วมในการลงมติเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อสร้างการยอมรับจากทุกฝ่าย

.

ทั้งนี้ นักวิชาการส่วนใหญ่เห็นพ้องว่า ระบบศาลรัฐธรรมนูญในปัจจุบันกำลังเป็นภัยร้ายแรงต่อระบอบประชาธิปไตยและหลักนิติรัฐ จึงจำเป็นต้องมีการปฏิรูปอย่างเร่งด่วนเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยและเจตนารมณ์ของประชาชนอย่างแท้จริง

.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง...

ศาลรัฐธรรมนูญสั่ง “เศรษฐา” พ้นตำแหน่งนายกฯ ปมตั้ง “พิชิต” เป็นรัฐมนตรี


ไม่รอด! ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ ยุบก้าวไกล ตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค 10 ปี

TAGS:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง