เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม มีผลบังคับใช้เมื่อพ้น 120 วัน

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม มีผลบังคับใช้เมื่อพ้น 120 วัน

38224 ก.ย. 67 20:46   |     ข่าวเวิร์คพอยท์

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาแพ่งและพาณิชย์ (ฉลับที่ 24) (พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม)มีผลบังคับใช้เมื่อพ้น 120 วัน

(24ก.ย.67) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาแพ่งและพาณิชย์ (ฉลับที่ 24) ระบุว่า 


พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมขอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้


มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับ24) พ.ศ. 2567” 

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป 

มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 43 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน 

มาตรา 43 ภูมิลำเนาของคู่สมรส ได้แก่ถิ่นที่อยู่ที่คู่สมรสอยู่กินด้วยกันฉันคู่สมรส เว้นแต่ คู่สมรสฝ่ายใดได้แสดงเจตนาให้ปรากฏว่ามีภูมิลำเนาแยกต่างหากจากกัน


อ่านรายละเอียดทั้งหมดได้ที่นี่ 


หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่สถาบันครอบครัวเป็นหน่วยสำคัญ ในการพัฒนาสังคมและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน แต่การก่อตั้งครอบครัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จำกัดเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิง ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบันที่มีการอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวระหว่างบุคคลเพศหลากหลาย โดยมีการอุปการะเลี้ยงดูและมีความสัมพันธ์ในด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างไปจากคู่สมรสที่เป็นชายและหญิง 


สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติบางประการในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อรองรับให้บุคคลเพศหลากหลายสามารถหมั้นและสมรสกันได้ ซึ่งจะทำให้มีสิทธิ หน้าที่ และสถานะทางครอบครัวเท่าเทียมกับคู่สมรสที่เป็นชายและหญิง 


ทั้งนี้เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวที่ก่อตั้งขึ้นระหว่างบุคคลไม่ว่าจะมีเพศใด เว้นแต่จะเป็นกรณีที่มีกฎหมายอื่นกำหนดเรื่องครอบครัวหรือมรดกไว้เป็นการเฉพาะ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้


ทั้งนี้ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาแพ่งและพาณิชย์ (ฉลับที่ 24) จะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้น 120 วัน หรือตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2568 เป็นต้นไป





TAGS:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง