ที่สุดของความอึด! "ปลาหมอคางดำ" เจอยาเบื่อ ตัวอื่นตายยกคลอง แต่ตัวเองอยู่รอดว่ายเผ่นหนี

ที่สุดของความอึด! "ปลาหมอคางดำ" เจอยาเบื่อ ตัวอื่นตายยกคลอง แต่ตัวเองอยู่รอดว่ายเผ่นหนี

110702 ส.ค. 67 20:41   |     ข่าวเวิร์คพอยท์

ที่สุดของความอึด! "ปลาหมอคางดำ" เจอยาเบื่อ ตัวอื่นตายยกคลอง แต่ตัวเองอยู่รอดว่ายเผ่นหนี ดร.สุรพล เผยวิวัฒนาการสูงหลบภัยตามพื้นที่คลองซอยซ่อนตัวอย่างปลอดภัย

(2 ส.ค.67) จากกรณีมีปลาลอยตายเกลื่อนตลอดคลอง บริเวณลำคลองวัดโพธิ์สามเรือน ต.สามเรือน ยาวไปถึงเขตตำบลพิกุลทอง อ.เมือง จ.ราชบุรี ประมาณ 6 – 8 กิโลเมตร เมื่อ 2 วันก่อน ส่งผลทำให้ปลาตัวเล็กตัวใหญ่หลายสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในลำคลองสายนี้ลอยตายจำนวนมาก  


จากการสอบถาม ดร.สุรพล สินเกตุ นักล่าปลาหมอคางดำ ที่มักจะชอบนำแห มาทอดหาปลาหมอคางดำบริเวณลำคลองดังกล่าว บอกว่า ปลาโดนยาเบื่อ เพราะดูจากอาการท้องแตกตาย ปลาอื่นจะตายหมด ทั้งปลานิล ปลาตะเพียน ปลาสร้อย และปลาอีกหลายชนิด แต่ยกเว้นที่ไม่ตายคือ ปลาหมอคางดำ เพราะมันทรหดอดทนมาก สามารถว่ายน้ำไปหลบตามปากประตูน้ำที่แยกออกไปตามคลองซอยเล็ก ๆ ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ปลาชนิดอื่น ๆ ตาย แต่ตัวเองไม่ตาย

  

โดยปลาโดนวางยาเบื่อมาจากคลองด้านบน ปลาอื่น ๆ ตายหมด พอปลาหมอคางดำได้กลิ่นยา ก็จะรีบว่ายน้ำหนี มันคงไม่ต่างจากช้างเวลามีภัยธรรมชาติจะรู้ พอได้กลิ่นก็จะรู้ เหมือนกับปลาหมอคางดำ เมื่อได้ยินเสียงรถมอเตอร์ไซค์หรือคนเดินเข้าไป ปลาที่ลอยหัวเหนือน้ำก็จะมุดหัวลงน้ำหนีทันที ซึ่งจะไม่ต่างจากช้างแสนรู้ ปลาคางดำเวลาเจอน้ำเสียจะหนีขึ้นไปอาศัยอยู่เหนือน้ำ หรือไม่ก็หนีไปอาศัยอยู่ตามคลองซอยในสวน กำจัดยากมากเพราะจะหนีสุดฤทธิ์ เวลาจะไปเจอต้องว่องไว  


โดยจะต้องย่องเข้าไปยังจุดพื้นที่ที่มันอยู่ ประสบการณ์การได้ยินเสียงก็จะหนีหายแล้ว จากที่พามาดูคลองสายหลักของชลประทาน ซึ่งเชื่อมกับคลองย่อย เป็นแหล่งที่มีปลาอุดมสมบูรณ์ที่สุด ถือเป็นแหล่งชุมนุมปลาที่มากที่สุดแห่งหนึ่งในราชบุรี  

         

สำหรับเทคนิคการจะล่าปลาหมอคางดำ ดร.สุรพล บอกว่า จะต้องใช้เทคนิคหลายอย่าง ทั้งช่วงเวลาการจับปลาหมอคางดำที่จะต้องใช้เวลาเช้ามาก ๆ เริ่มตั้งแต่ 06.00 น. – 08.00 น. ซึ่งจะพบฝูงปลาหมอคางดำลอยเหนือน้ำเป็นฝูงใหญ่ การดูพื้นที่ปลาหมอคางดำอาศัยอยู่จะมีฟองน้ำขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ วิธีการจับใช้ก้อนหินโยนลงไปยังจุดที่คาดว่ามีปลาหมอคางดำอยู่อาศัย แล้วจึงใช้แหเหวี่ยงทอดลงไป เนื่องจากปลาคิดว่าสิ่งที่โยนลงไปนั้นเป็นอาหาร จึงรู้กันเข้ามากิน ที่สำคัญจะต้องใช้ความเงียบมาก ๆ เมื่อคาดว่าปลาหมอคางดำอยู่จุดนั้นจะต้องจอดรถห่าง ๆ แล้วค่อย ๆ ย่องเดินเข้าไป ห้ามพูดคุยส่งเสียงดัง ไม่เช่นนั้นฝูงปลาหมอคางดำจะมุดน้ำหนีไปทันที 


สำหรับการตายของปลาในคลองสามเรือน ขณะนี้อยู่ระหว่างเจ้าหน้าที่เร่งตรวจสอบหาสาเหตุ หรือการลอบวางยาเบื่อ จนปลาตายเกลื่อนเกือบหมดลำคลอง แต่ที่แปลกใจคืนปลาหมอคางดำ ที่มีระบาดมากในลำคลอง พบว่ามีตายน้อยมาก ที่พบตายมากคือปลานิล ขณะที่ปลาหมอคางดำกลับหนีตายหลบเข้าไปอยู่ในคลองซอยที่น้ำเสียยังเข้าไปไม่ถึง


TAGS:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง