เยาวชนไทยร่วมเวที COP29 หาแนวทางลดโลกร้อนอย่างยั่งยืน

เยาวชนไทยร่วมเวที COP29 หาแนวทางลดโลกร้อนอย่างยั่งยืน

42309 ม.ค. 68 14:49   |     sureeporn.t

ผู้แทนเยาวชนไทย แชร์ประสบการณ์เข้าร่วมการประชุมเวที COP29 หาแนวทางลดโลกร้อนอย่างยั่งยืน

การประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Conferences of Parties หรือ COP ครั้งที่ 29) ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน เมื่อปลายปี พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา มีหน่วยงานราชการ ผู้เชี่ยวชาญ และภาคประชาสังคมจากประเทศไทยเดินทางไปเข้าร่วมประชุม เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ พร้อมรักษาเสถียรภาพของก๊าซเรือนกระจกที่ได้ลงนามในกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change หรือ UNFCCC)

กลุ่มเยาวชน คือ หนึ่งในคณะผู้แทนไทยที่กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (สส.) หรือกรมโลกร้อนเปิดโอกาสให้เข้าร่วมประสบการณ์ในเวทีระดับโลกครั้งนี้ จำนวนทั้งหมด 16 คนเข้าร่วมเวที COP 29 เมื่อปลายปีที่ผ่านมา โดยมีหน่วยงานต่าง ๆ เช่นโครงการส่งเสริมการเตรียมความพร้อมสำหรับการดำเนินความร่วมมือรัฐภาคีตามข้อ 6 ของความตกลงปารีส (Supporting Preparedness for Article 6 Cooperation หรือ SPAR6C) องค์กรยูนิเซฟ องค์กรพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme) และ Youth Negotiators Academy (YNA) และหน่วยงานและองค์กรอื่น ๆ ทั้งในและระหว่างประเทศร่วมให้ความสนับสนุน 

.

ภายหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมตลอดสองสัปดาห์ของ ผู้แทนเยาวชนไทยที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการ SPAR6Cแบ่งปันประสบการณ์ ภายหลังจากการเข้าร่วมประชุม COP29 เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการแนวทางลดโลกร้อนในมิติต่าง ๆ 

ร่มฉัตร พ่วงฉ่ำ นักศึกษาปริญญาโทจากบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า การเข้าร่วมประชุมเวที COP29 เป็นการเปิดโลกให้กับตนเป็นอย่างทั้งในฐานะผู้เข้าร่วมงาน ผู้เข้าร่วมอภิปราย และผู้ช่วยจัดเวที “การเข้าร่วมประชุมในเวทีนานาชาติทำให้เราตระหนักว่า มุมมองเราเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนยังแคบมาก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีผลกระทบต่อหลากหลายมิติ ทั้งทางสังคมและวัฒนธรรม มรดกโลก และชนเผ่าต่าง ๆ จำเป็นต้องนำมิติเหล่านี้มาพิจารณาในงานวิชาการที่ตนกำลังทำอยู่ที่ศูนย์การจัดการก๊าซเรือนกระจกและศูนย์บริการและวิจัยการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนของบัณฑิตวิทยาลัยให้มากขึ้นด้วย”

.

ร่มฉัตรยังได้มีโอกาสทำกิจกรรมในฐานะผู้จัดเวทีเสวนา ในพาวิลเลียนของเครือข่ายมหาวิทยาลัยโลกด้านสภาพภูมิอากาศ (Global Alliance of Universities on Climate) ทำให้ได้เรียนรู้การจัดการประสานงานกับเครือข่ายและ ผู้เชี่ยวชาญจากภาคประชาสังคมนานาชาติ เพื่ออภิปรายและแลกเปลี่ยนมุมมองในประเด็นข้อ 6 ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีผู้เข้าร่วมงานให้ความสนใจเข้าฟังเป็นอย่างมาก 

อีกบทบาที่ร่มฉัตรสวมหมวกผู้แทนเยาวชนไทยคือการเข้าร่วมอภิปรายในเวทีเยาวชนของพาวิลเลียนประเทศไทย กับผู้แทนเยาวชนจากประเทศสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ เนปาล เม็กซิโก “ในฐานะผู้อภิปราย จำเป็นศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกรอบแนวทางเกี่ยวกับข้อ 6 ซึ่งมีรายละเอียดเจาะลึกเกี่ยวกับการซื้อขายคาร์บอนเครดิต พยามทำความเข้าใจเรื่องความท้าทายในการปฏิบัติจากผู้เชี่ยวชาญของประเทศไทยจากหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่นโครงการสปาร์ค SPAR6C เพื่อให้แลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเรียนรู้แนวทางการทำงานของเยาวชนนานาชาติให้ได้มากที่สุด”

.

เช่นกับ จิระภัทร ศรีทะวงษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มองเห็นผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อบริบทด้านศิลปะวัฒนธรรมและโบราณสถานของชาติ ขอบคุณโครงการ SPAR6Cที่เปิดโอกาสให้ตนเองได้แลกเปลี่ยนความรู้และรู้จักผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมในทุก ๆ ด้าน ในฐานะเยาวชนอีสานที่โตมากับความผูกพันของบ้าน วัดและชุมชน การได้พบกับผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดี ทำให้ตนได้เรียนรู้ว่า สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปมีผลกระทบต่อมิติด้านสังคมวัฒนธรรมและโบราณสถาน ภาพเขียนสีกำแพงโบสถ์และนิสิตภาคกิจกรรมและประธานชมรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยขอนแก่น และจะนำความรู้ที่ได้มาจัดกิจกรรมของชมรมต่อไป 

.

สำหรับพลภคินทร์ พฤฒิวงศ์วาณิช นศ.ป.โท คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “ประสบการณ์ที่มีค่ายิ่งจากการเข้าร่วมเวทีประชุม COP29 คือการได้รับโอกาสจากทีมประเทศไทย โดยเฉพาะจากหน่วยงานเจรจาของกรมสส. ให้เข้าฟังเวทีเจรจาระดับสูงในบางเวที ได้เรียนรู้กระบวนการทำงานของผู้แทนระดับประเทศที่ต้องทำงานหนักในเตรียมข้อมูลทั้งในประเด็นกฎหมาย และรายละเอียดเชิงนโยบายเพื่อชี้แจงในเวทีนานาชาติเพื่ออธิบายถึงประโยชน์และผลกระทบต่อประเทศในมิติต่าง ๆ หากมีการยอมรับและนำแนวทางที่เกี่ยวข้องกับกับนโยบายและข้อตกลงในเวทีนานาชาติมาปรับใช้ในระดับนโยบาย และจะมีผลกับประเทศโดยตรง” 

.

ประเทศไทยลงนามในกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change หรือ UNFCCC) เพื่อรักษาเสถียรภาพของก๊าซเรือนกระจกตั้งแต่ปีพ.ศ.2535

ด้านกลย์ธัช ไพบูลย์นุกูลกิจ นิสิตระดับชั้นปริญญาโท คณะวิศวกรรมศาสตร์ โครงการร่วมระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับมหาวิทยาลัยวอร์ริก ประเทศอังกฤษ มีความสนใจด้านเทคโนโลยีดาวเทียมและอวกาศ COP29 ทำให้ได้มีโอกาสพบกับผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันสิ่งแวดล้อมจากประเทศญี่ปุ่นและหน่วยงานด้านอวกาศของยุโรปที่มีเทคโนโลยีใหม่ในการตรวจการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาพถ่ายดาวเทียม ของตนเองซึ่งกำลังศึกษาวิจัยเรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากภาคการเกษตรสู่อวกาศให้น้อยลงได้ ตนมองว่า เมื่อเทียบกับภาควิชาการและภาคประชาสังคม นอกจากนี้ยังได้ร่วมอภิปรายในเวทีเยาวชนที่พาวิลเลียนขององค์กร Solutions for Our Climate ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่ประเทศเกาหลี สามารถสร้างเครือข่ายใหม่ ๆ โดยเฉพาะจากภาคเอกชน ประสบการณ์เหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างมาก อย่างไรก็ตามมองว่า บทบาทภาคเอกชนยังนับว่าน้อยในเวที COP29 และเอสเอ็มอี สตาร์ทอัพ ภาคเอกชนมีความสำคัญเพราะรองรับเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถพร้อมเข้ามาสนับสนุนและขับเคลื่อนการลดโลกร้อนในภาคปฏิบัติ และพร้อมเปลี่ยนแปลงและเปลี่ยนผ่านไปสู่แนวทางใหม่ ๆ ไปปรับใช้ ควรได้รับการส่งเสริมให้เข้ามามีส่วนร่วมในเวทีระดับนานาชาติ เพื่อร่วมกันสร้างการเปลี่ยนแปลงไปสู่การลดโลกร้อนให้ยั่งยืนเพื่อคนรุ่นต่อ ๆ ไป


TAGS:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง