อัปเดต! "น้ำท่วม" 14 จังหวัด ยังไม่คลี่คลาย ปชช.เกือบ 3 หมื่นคน เดือดร้อน
อัปเดต! "น้ำท่วม" 14 จังหวัด ยังไม่คลี่คลาย ปชช.เกือบ 3 หมื่นคน เดือดร้อน
ปภ.อัปเดตสถานการณ์"น้ำท่วม"ระหว่างวันที่ 16 ส.ค. – 3 ต.ค. 67 ล่าสุดยังมี 14 จังหวัด ยังไม่คลี่คลาย ปชช.เกือบ 3 หมื่นคน เดือดร้อน
(3ต.ค.67) เวลา 11.00 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานว่าในระหว่างวันที่ 16 ส.ค. – 3 ต.ค. 67 เกิดสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 37 จังหวัด ได้แก่
- เชียงราย
- เชียงใหม่
- แม่ฮ่องสอน
- ตาก
- พะเยา
- น่าน
- ลำพูน
- ลำปาง
- แพร่
- อุตรดิตถ์
- สุโขทัย
- พิษณุโลก
- นครสวรรค์
- เพชรบูรณ์
- เลย
- อุดรธานี
- หนองคาย
- นครพนม
- ขอนแก่น
- ชัยภูมิ
- มหาสารคาม
- บึงกาฬ
- หนองบัวลำภู
- อุบลราชธานี
- ปราจีนบุรี
- อ่างทอง
- พระนครศรีอยุธยา
- ปทุมธานี
- ระยอง
- ชุมพร
- สุราษฎร์ธานี
- ภูเก็ต
- ยะลา
- นครศรีธรรมราช
- พังงา
- ตรัง
- สตูล
รวมพื้นที่ได้รับผลกระทบ 226 อำเภอ 984 ตำบล 5,318 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 193,307 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิตรวม 49 ราย และได้รับบาดเจ็บรวม 28 คน
ซึ่งปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 14 จังหวัด ได้แก่
- เชียงราย
- พะเยา
- แม่ฮ่องสอน
- ลำพูน
- ตาก
- พิษณุโลก
- สุโขทัย
- เลย
- อุดรธานี
- ชัยภูมิ
- มหาสารคาม
- อุบลราชธานี
- อ่างทอง
- พระนครศรีอยุธยา
รวมพื้นที่ได้รับผลกระทบ 43 อำเภอ 224 ตำบล 1,226 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 28,832 ครัวเรือน รายละเอียด ดังนี้
ภาคเหนือ
รวม 7 จังหวัด 18 อำเภอ 71 ตำบล 351 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 9,674 ครัวเรือน
- เชียงราย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่สาย อ.เมืองฯ และ อ.แม่ลาว รวม 6 ตำบล 28 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง
- พะเยา เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอแม่เจ รวม 2 ตำบล 4 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง
- แม่ฮ่องสอน เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอ เมืองแม่ฮ่องสอน รวม 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง
- ลำพูน เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเมืองลำพูน รวม 14 ตำบล 117 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,868 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
- ตาก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.สามเงา และ อ.บ้านตาก รวม 7 ตำบล 47 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,172 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
- พิษณุโลก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ อ.เมืองฯ อ.บางกระทุ่ม อ.วังทอง อ.นครไทย และ อ.วัดโบสถ์ รวม 26 ตำบล 103 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,694 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
- สุโขทัย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.สวรรคโลก อ.ศรีสำโรง และ อ.เมืองฯ รวม 15 ตำบล 51 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,940 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
รวม 5 จังหวัด 16 อำเภอ 62 ตำบล 377 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,264 ครัวเรือน
- เลย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.วังสะพุง และ อ.ภูเรือ รวม 2 ตำบล 5 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 31 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
- อุดรธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.สร้างคอม อ. วังสามหมอ อ.กุดจับ อ.พิบูลย์รักษ์ และ อ.บ้านดุง รวม 20 ตำบล 141 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,068 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
- ชัยภูมิ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.คอนสวรรค์ และ อ.จัตุรัส รวม 12 ตำบล 45 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 71 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
- มหาสารคาม เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.กันทรวิชัย อ.โกสุมพิสัย และ อ.เชียงยืน รวม 26 ตำบล 181 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 57 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
- อุบลราชธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ และ อ.สว่างวีระวงศ์ รวม 2 ตำบล 5 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 37 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
ภาคกลาง
รวม 2 จังหวัด 9 อำเภอ 91 ตำบล 498 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 17,894 ครัวเรือน
- อ่างทอง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.วิเศษชัยชาญ และ อ.ไชโย รวม 3 ตำบล 12 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 245 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
- พระนครศรีอยุธยา เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.บางบาล อ.ผักไห่ อ.เสนา อ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางปะอิน อ.บางไทร และ อ. บางปะหัน รวม 88 ตำบล 486 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 17,649 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ระดมสรรพกำลังเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการและเครื่องจักรกลสาธารณภัย อาทิ เฮลิคอปเตอร์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย KA-32 เครื่องสูบส่งน้ำระยะไกล เครื่องสูบน้ำ รถเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย รถกู้ภัยเคลื่อนที่เร็ว รถผลิตน้ำดื่ม รถไฟฟ้าส่องสว่างขนาด 200 KVA รถบรรทุกเล็ก รถลากเรือเคลื่อนที่เร็ว เรือท้องแบน อุปกรณ์กู้ภัยทางน้ำ เข้าให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ที่เกิดสถานการณ์ภัย รวมถึงนำรถขุดตักไฮดรอลิกยกสูง รถตักล้อยางอเนกประสงค์ รถขุดล้อยางกู้ภัยปรับฐานล้อ รถตีนตะขาบ รถบรรทุกเทท้าย รถขุดตักไฮดรอลิกแขนยาว เร่งขุดตักขนย้ายดินโคลน เศษวัสดุ สิ่งปรักหักพัง พร้อมทั้งปรับเกลี่ยถนน เส้นทางสัญจร ฟื้นฟูถนนหนทาง อาคารบ้านเรือนในพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้วเพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รายงานเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง และปักหลักช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มกำลังจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย โดยประชาชนสามารถติดตามการรายงานสถานการณ์ ข่าวสารสาธารณภัย ได้ทาง
- Facebook กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM
- X @DDPMNews
ติดตามการประกาศแจ้งเตือนภัยได้ทางแอปพลิเคชัน “Thai Disaster Alert” ทั้งระบบ IOS และ Android
หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือได้ทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง