น้ำท่วมเมืองน่านยังวิกฤต ท้ายน้ำอยู่ที่อำเภอเมือง

น้ำท่วมเมืองน่านยังวิกฤต ท้ายน้ำอยู่ที่อำเภอเมือง

69223 ส.ค. 67 17:05   |     AdminNews

อัปเดทสถานการณ์อุทกภัยพื้นที่เฝ้าระวังคือ อำเภอเมืองน่าน โดยเฉพาะพื้นที่เศรษฐกิจน้ำท่วมสูง อำเภอเวียงสา พื้นที่รับน้ำ ต้องเฝ้าระวังมวลน้ำขนาดใหญ่ ขณะที่ฝนตอนเหนือหยุดตกแล้ว

วันนี้( 23 ส.ค.67) ในเขตพื้นที่เศรษฐกิจ อำเภอเมืองน่าน พบหลายพื้นที่ ยังมีปริมาณน้ำที่ทรงตัวเนื่องจากท้ายน้ำของเมื่อวานและพบว่ามีการลดลงอย่างช้าๆ น้ำสายเหนือได้ไหลมาถึงที่อำเภอเมืองน่าน ส่วนหางน้ำอยู่ที่อำเภอเวียงสา ในบางส่วนของอำเภอเมืองน่าน เช่นสถานีขนส่งจังหวัดน่าน พบมีน้ำท่วมขังด้านลานวัดภูมินทร์จิตรกรรมปู่ม่านย่าม่าน ไม่ได้รับความเสียหายแต่มีน้ำท่วมขังบริเวณโบราณสถาน อุโบสถจตุรมุขจากการคาดการณ์โดยป้องกันและบรรเทาสาระสาธารณภัยจังหวัดน่านคาดว่าวันนี้น้ำจะเริ่มลดลง

จากการขึ้นบินตรวจสอบโดยอากาศยานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพบว่าท้ายน้ำได้ถึงอำเภอเมืองทั้งนี้อำเภอที่ท่วมมากที่สุดและได้รับผลกระทบมากที่สุดตอนนี้อยู่ที่อำเภอเวียงสาอำเภอเมือง และสาหัสที่สุดคืออำเภอภูเพียง พบหลายหมู่บ้านถูกตัดขาดเนื่องจากน้ำท่วมสูงไม่สามารถสัญจรได้นอกจากทางเรือเท่านั้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

อัปเดต"น้ำท่วมน่าน"จมบาดาล 9 อำเภอ เฝ้าระวังน้ำขึ้น!

“เทิง” ท่วมเป็นวันที่ 3 น้ำโขงหนุนสูงทำน้ำอิงลดช้า

เขตเศรษฐกิจ “แพร่” อ่วม หลายชีวิตติดอยู่ชั้น 2

ระดมกำลังหาผู้สูญหายจากเหตุดินถล่ม 'กะรน' ล่าสุดพบแล้ว 4 ศพ

ด้านนายวรวิทย์ อินต๊ะใจ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า สถานี N1 มีแนวโน้มน้ำลดลง รายชั่วโมงลดลงอย่างช้าๆ แต่ว่าระดับยังสูงกว่าระดับตลิ่งอยู่ เพราะในเรื่องของน้ำที่ทะลักเข้าในเขตพื้นที่เศรษฐกิจในเมืองน่าน จากที่เราดูแล้วมีอยู่ 2 ส่วน ที่ล้นขอบตลิ่งแล้วก็ส่วนที่ดันขึ้นผุดจากใต้ดิน จากท่อระบายน้ำตรงนี้เราเร่งสูบน้ำแต่ว่าน้ำที่สูบกับน้ำที่เข้ามันไม่สำพันธ์กัน คาดว่าถ้าระดับน้ำลดลงเรื่อยๆ อย่างนี้ 2-3 วันจะเข้าสู่ภาวะปกติ

ด้านนายศรีรุ่ง รัตนศิลา ประธานหอการค้าจังหวัดน่าน กล่าวว่า สำหรับสถานะการณ์น้ำท่วมจังหวัดน่านในครั้งนี้ มีความรุนแรงมากกว่าปี 49 ถือว่ารุนแรงสุดในรอบ 100 ปี จากการคาดการณ์มูลค่าความเสียหายทั้งจังหวัดประมาณหลายร้อยล้านบาท โดยธุรกิจต่างๆหยุดชงักทั้งหมด 

ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณสาธาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามตอนบน ประกอบกับร่องมรสุมกำลัง

ปานกลางจะเลื่อนลงมาพาพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน วันที่ 20 - 23 สิงหาคม 2567 พื้นที่จังหวัดน่าน มีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ เกิดอุทกภัย น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 11 อำเภอ 56 ตำบล 313 หมู่บ้านน้ำได้ท่วมพื้นที่เขตเศรษฐกิจสูงมาก วัดมิ่งเมือง สถานีขนส่ง วัดพันต้น สี่แยกข่วงเมืองน่าน น้ำท่วมสูง 

นายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่านได้มอบหมายให้นายกฤขเพชร เพชระบูรณิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน พร้อมด้วยเหล่ากาชาดจังหวัดน่าน หัวหน้าสำนักงาน ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดน่าน และสาขาลงพื้นที่ตรวจสอบพื้นที่ ที่ประสบภัยอุทกภัย พร้อมอบสิ่งของเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับผู้ประสบภัย

โดยมีข้อสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้ 

ให้ฝ่ายทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง จัดชุดปฏิบัติการเร่งให้ความช่วยเหลือด้านการดำรงชีพแก่ประชาชนที่ประสบภัยตามวงรอบอย่างต่อเนื่อง อาทิ ความช่วยเหลือด้านอาหาร น้ำดื่ม โดยอย่าให้เกิดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติของแต่ละหน่วยงาน กรณีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย ให้บูรณาการทุกหน่วยงาน ทั้งหน่วยทหาร ตำรวจ หน่วยงานฝ่ายปกครอง สถาบันการศึกษา ตลอดจนประชาชนจิตอาสา เพื่อจัดทีมช่างในพื้นที่เป็นทีมประชารัฐ และเร่งซ่อมแซมบ้านเรือนประชาชนโดยเร็ว กรณีเส้นทางคมนาคมถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหาย จนประชาชนไม่สามารถใช้

ยานพาหนะสัญจรได้ ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการคมนาคม จัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกการจราจรแนะนำเส้นทางเลี่ยงที่ปลอดภัยรวมทั้งจัดป้ายแจ้งเตือนประชาชนให้รับทราบ หลังจากนั้นให้เร่งซ่อมแชมเส้นทางที่ชำรุด/ถูกตัดขาด เพื่อให้ประชาชนใช้สัญจรได้โดยเร็ว ให้หน่วยงานทางด้านสาธารณสุข ควบคุม กำกับดูแล การแพร่ระบาดของโรคติดต่อที่อาจ

มากับสถานการณ์อุทกภัยอย่างทั่วถึง

เน้นย้ำการสื่อสารสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนในช่วงเกิดสถานการณ์อุทกภัยผ่านสื่อมวลชน ตลอดจนสื่อแขนงต่าง ๆ และสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง

ประกาศแจ้งเตือนให้อำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำหลาก น้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่ โดยขอให้ส่วนที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ และกำชับให้ทุกภาคส่วนดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุของหน่วยงาน เตรียมความพร้อมทรัพยากร อุปกรณ์เครื่องมือ ยานพาหนะเพื่อพร้อมรับกับสถานการณ์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์เตือนภัยพิบัติ เตรียมความพร้อมในการ

ส่งสัญญาณแจ้งเตือนตามหอเตือนภัยในพื้นที่เสียง เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ดำเนินการอพยพไปยังพื้นที่ปลอดภัย ให้อำเภอเร่งสำรวจผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกรณีสถานการณ์อุทกภัย น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน และการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติเป็นไปอย่างทั่วถึง. ประชาชนจิตอาสา อาสาสมัคร ภาคเอกชนเข้าช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบสาธารณภัย

นอกจากนี้ นายกมล นวลใย ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่13(แพร่) ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ ทุกหน่วยในพื้นที่ประสานนายอำเภอท้องที่นายก อปท. ที่น้ำท่วมให้เข้าช่วยเหลือประชาชน ร่วมกับ มูลนิธิกู้ภัยเพชรเกษม เข้าช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมพื้นพื้นที่ อ.ทุ่งช้าง อ.ท่าวังผา โดยนำทรัพยากรเข้าช่วยเหลือประชาชน ดังนี้ รถยนต์เคลื่อนที่เร็ว รถบรรทุก 8 คัน เรือท้องแบนพร้อมเครื่อง 10 ลำ กำลังพล40 คน รถประกอบอาหารเคลื่อนที่เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ 2 แห่ง หน่วยทหาร ตำรวจ อำเภอ อปท. มูลนิธิร่วมกตัญญู เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดน่าน โดยนำทรัพยากรเข้าให้ความช่วยเหลือประกอบด้วย กำลังคนจำนวน 30 คน เรือกู้ภัยพร้อมเครื่องยนต์ จำนวน 3 ลำ รถยนต์ประกอบอาหาร 1 คัน มูลนิธิสว่างรวมใจ เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดน่าน ซึ่งได้ตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือพร้อมโรงครัวประกอบอาหารบริเวณสี่แยกพันตัน อ.เมืองน่าน โดยนำทรัพยากรเข้าให้ความช่วยเหลือประกอบด้วย กำลังคนจำนวน 20 คน เรือกู้ภัยพร้อมเครื่อมเครื่องยนต์ จำนวน 2 ลำนายวชิระ คมขำ(นายกต้น)นายกสมาคม เรือ 2 ลำ พร้อมกำลังอาสา 30 นาย พร้อมทีมงานสมาคมกู้ภัยวัดหมอนไม้ อุตรดิตถ์

 

กระทรวงพรัพยากรรรมชาติและสิ่งเวคล้อม สนับสนุนอากาศยานปีกหมุนในการสำรวจพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติ

ระดับน้ำจากศูนย์อุทกวิทยาชลประทาน 

สถานีตรวจวัด N.64 บ้านผาขวาง อ.เมืองน่าน ระดับน้ำ 10.30 ม. มีแนวโน้มลดลง ส่วนที่สถานีตรวจวัด N.1 บริเวณหน้าสำนักงานป่าไม้ อ.เมืองน่าน ระดับน้ำ 8.49 ม. (มีแนวโน้มลดลง. ส่วนที่สถานีตรวจวัด N.75 สะพานท่าลี่ อ.เวียงสา ระดับน้ำ 7.68 ม. (ระดับตลิ่ง 1.1ม.) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

คาดการณ์สถานการณ์โดยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง พบว่า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณภาคเหนือมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ในระหว่างวันที่ 24 - 30 สิงหาคม 2567 ลักษณะเช่นนี้อาจส่งผลกระทบให้ปริมาณน้ำตามแม่น้ำสายหลัก และลำน้ำสายรอง มีปริมาณน้ำสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนขยายเป็นวงกว้างมากยิ่งขึ้น

เส้นทางการคมนาคม ทางหลวง หมายเลข 1169 ตอนเส้นทาง ท่าล้อ-เมืองหลวง นำท่วมสูง รถไม่สามารถสัญจรได้ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงหมู่บ้านของทางหลวงชนบทแทน  

ระดับน้ำเกินระดับวิกฤต กำลังเข้าสู่ช่วงลดระดับ - สถานการณ์ระดับน้ำในแม่น้ำน่าน 23 สิงหาคม 2567 เวลา 16:00 น.

-ระดับน้ำแม่น้ำน่านวัดที่ N1 สถานีสะพานพัฒนาภาคเหนือ ระดับ 8.25เมตร (ระดับวิกฤต 7 เมตร)

-ระดับน้ำแม่น้ำน่านวัดที่ N64 สถานีผาขวาง ระดับ 9.65 เมตร (ระดับวิกฤต 9.5 เมตร)

-สถานีผาขวางมีระดับลดลงจากชั่วโมงที่ผ่านมา 8 cm (ลดลง 3.10 เมตร นับจากระดับสูงสุดเมื่อ 10.00 ของเมื่อวาน 12.75 เมตร)

-ส่วนสถานีสะพานพัฒนาภาคเหนือลดลง 5 cm (ลดลง 48 cm นับจากที่แตะระดับสูงสุดเมื่อ 20.00 ของคืนที่ผ่านมา 8.72 เมตร)

TAGS:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง